Page 20 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 20
xiv | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
4. ควรขับเคลื่อนระบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ (Self-care) ให้ประชาชนสามารถดูแลตนเอง
ได้โดยมีพื้นที่หรือท้องถิ่นเป็นหน่วยงานสนับสนุน โดยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ก าหนดเป็นนโยบายหลักประการหนึ่ง
ของหน่วยงาน
(3) ข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ:
1. หน่วยบริการสาธารณสุขควรมีรูปแบบการให้บริการแบบเชิงรุกมากขึ้นและทั่วถึงยิ่งขึ้น ทั้งการ
ให้การดูแลก่อนภาวะเจ็บป่วย การฟื้นฟูหลังเจ็บป่วย และการให้ความรู้ถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุได้รับตาม
กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงและการรับรู้สิทธิของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงมหาดไทย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ก าหนดให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องด าเนินการ
2. ควรปรับปรุงพฤติกรรมของบุคลากรด้านสุขภาพให้มีจิตใจรักงานบริการและความเห็นอกเห็น
ใจต่อผู้มารับบริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ที่มีความสามารถในการรับรู้ สื่อสาร และตัดสินใจลดลง โดย
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย (องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น) ในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และ/หรือการฝึกอบรมบุคคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ
3. ควรส่งเสริมให้ครอบครัวเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุเอง (Self-care) โดยหน่วยบริการต้องเป็นผู้ให้
ความรู้แก่ประชาชน เพื่อเป็นการส่งเสริมป้องกันในเบื้องต้น ลดภาวะเจ็บป่วยระยะยาว มีชีวิตที่ปลอดภัยมาก
ขึ้น ลดการพึ่งพาจากหน่วยแพทย์ ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้าหาแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ในการ
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ การจัดหลักสูตรการฝึกอบรมการดูแลผู้สูงอายุแก่สมาชิกในครอบครัว
10) ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้านกระบวนการยุติธรรม
(1) ปัญหาความรุนแรงและการถูกละเมิด (Violence and Abuse):
1. กฎหมายในการลงโทษผู้ท าร้ายและทอดทิ้งผู้สูงอายุ: ในประมวลกฎหมายอาญาและ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้กระท าความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ที่มีเจตนารมณ์ในการลงโทษที่ต่างกัน
ส่วนใหญ่การทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุเป็นการกระท ารุนแรงและการละเมิดภายในครอบครัว ดังนั้นการ
น าหลักกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญามาลงโทษอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากหลักการรับผิดตามประมวล
กฎหมายอาญามิได้มุ่งเยียวยาผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัวอย่างผู้สูงอายุอย่างแท้จริง โดยมีสภาพ
ปัญหาที่เกี่ยวข้องในหลายประการ
แม้ว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 จะเป็นกฎหมายหลักและเป็นกฎหมายที่มีความชัดเจน
ในการคุ้มครองและสนับสนุนสิทธิด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุก็ตาม แต่การก าหนดสิทธิของผู้สูงอายุดังกล่าว มี
การก าหนดไว้เพียงสั้น ๆ มิได้อธิบายรายละเอียด หรือหลักเกณฑ์ เพื่อให้หน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมหรือคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ท าให้ผู้สูงอายุจึงยังไม่สามารถที่จะใช้สิทธิได้อย่าง
เต็มที่ นอกจากนั้นยังไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารกับผู้สูงอายุให้ทั่วถึงเท่าที่ควร จึงท าให้ปัจจุบันการให้
การช่วยเหลือผู้สูงอายุจากความรุนแรงและการกระท าละเมิดทั้งในครอบครัวและภายนอกยังไม่ประสบ
ความส าเร็จ