Page 17 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 17
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | xi
มั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลังควรจะก าหนดเป็นนโยบาย
หลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
(3) ข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ:
1. ควรมีการประเมินสถานการณ์ของการจ้างงานและการประกันสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็น
มิตรกับผู้สูงอายุด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ของแต่ละหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีการวิเคราะห์สถานการณ์ การ
พยากรณ์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ เพื่อน าไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการและโครงการ รวมทั้ง
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย รูปธรรม คือ การจัดท ารายงานผลงานประจ าปีแบบ White Paper ของแต่ละ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ควรมีความร่วมมือในการท างานระหว่างหน่วยงานที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การคุ้มครอง
สิทธิด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบัน
มีรูปแบบของการท าข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ในส่วน
ของการจ้างงานผู้สูงอายุ ก็อาจจะท าเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. ควรมีการใช้ประโยชน์จากเส้นความยากจน (Poverty line) เพื่อพัฒนาเส้นขีดความยากจน
หรือ เส้นขีดรายได้ขั้นต่ า โดยกระทรวงการคลังร่วมมือกับส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ยากจนหรือผู้มีรายได้ต่ าในการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ด้าน
สวัสดิการสังคมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
4. ควรมีการจัดโครงการชุบชีวิตชุมชน หรือเมือง หรือนคร (Revitalization of Community
or Town or City) ที่เน้นการสร้างงานในชุมชนหรือในท้องถิ่นแก่ผู้สูงอายุ อ านวยความสะดวกในการเดินทาง
ในการอยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ โดยหน่วยงานส่วนกลางท าหน้าที่เป็นผู้ก ากับดูแล (Regulator) และหน่วยงาน
ท้องถิ่นเป็นหน่วยงานปฏิบัติ (Operator)
8). ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต
(1) การสนับสนุนด้านสุขภาพ (Health Support):
1. ปัญหาความชัดเจนของบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุในการได้รับการ
สนับสนุนด้านสุขภาพ: การบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในสุขภาพของผู้สูงอายุยังคงบัญญัติในลักษณะกว้าง ๆ เช่น
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 6 วรรคสอง แต่ยังต้องออกกฎหมายล าดับรองมาก าหนด
หลักเกณฑ์เฉพาะเจาะจงว่าผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนอย่างไร ตลอดจนยังขาดมาตรการที่
เป็นรูปธรรมต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพผู้สูงอายุ นอกจากนี้แม้จะมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของ
ผู้สูงอายุ แต่ยังคงขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง ซึ่งขาดหลักเกณฑ์ในการควบคุมราคาหรือการสนับสนุนอุปกรณ์
ดังกล่าวแก่ผู้สูงอายุ
2. ปัญหาความทั่วถึงและครอบคลุมของการเข้าถึงสิทธิด้านบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ: แม้ว่า
การเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพของผู้สูงอายุมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในอดีต แต่ยังพบปัญหาความครอบคลุมของบริการ