Page 24 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 24

xviii | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             ส าคัญของคณะท างานเปิดฯ คือ การรวบรวมสรุปผลจากความคิดเห็นและข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศ
             ภาคีสมาชิกเกี่ยวกับช่องว่างในการปฏิบัติตามพันธกรณีในคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุภายใต้ตราสารระหว่าง
             ประเทศ และแนวทางการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ปัจจุบันยังไม่มี

             ข้อตกลงหรือมติในการเสนอแนะอย่างไรต่อองค์การสหประชาชาติ แต่จากประเด็นส าหรับ “พื้นที่ร่วม (Focal
             areas)” 14 ประเด็นของคณะท างานเปิดฯ ยังอยู่ในกรอบของหลักการส าหรับผู้สูงอายุขององค์การ
             สหประชาชาติ (United Nations Principles for Older Persons) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 หลักการที่ก าหนด
             สิทธิของผู้สูงอายุ 18 ข้อ

                    หากพิจารณาจากหลักการของการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุข้างต้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมการ
             รองรับมาตั้งแต่ก่อนปี 2546 โดยมีการบัญญัติการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพ.ศ. 2540 การ
             ประกาศปฏิญญาผู้สูงอายุในปี 2542 และการออกเป็นพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และมีการแต่งตั้ง
             คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ และการจัดหน่วยงานขึ้นรับผิดชอบใน

             กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบัน คือ กรมกิจการผู้สูงอายุ แต่การคุ้มครองสิทธิ
             ของผู้สูงอายุภายใต้กฎหมาย นโยบายและมาตรการดังกล่าวจะเป็นการคุ้มครองสิทธิด้วยการให้สวัสดิการจาก
             รัฐและผู้สูงอายุเป็นผู้รับฝ่ายเดียวหรือต้องพึ่งพารัฐ เนื่องจากมุมมองของรัฐว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่
             เปราะบาง/อ่อนแอ ซึ่งอาจจะขัดต่อหลักการขององค์การสหประชาชาติ กล่าวคือ หลักการ (1) การมีอิสรภาพ

             ในการพึ่งตนเอง (Autonomy) (2) การมีส่วนร่วม (Participation) (4) การบรรลุความต้องการ
             (Self-fulfillment) และ (5) ความมีศักดิ์ศรี (Dignity)
                    ข้อเสนอในการเตรียมการรองรับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
             แห่งชาติ เพื่อน าเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ จึงมีดังนี้

                       (1) การแก้ไขกฎหมายตั้งแต่ระดับรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ให้เพิ่ม
             สิทธิในการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วม การอุปการะเลี้ยงดู การบรรลุความต้องการ และความมีศักดิ์ศรี
                       (2) การขยายบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติและกองทุนผู้สูงอายุให้ครอบคลุม
             สิทธิของผู้สูงอายุตามหลักการผู้สูงอายุขององค์การสหประชาชาติ นอกเหนือจากการให้เป็นสวัสดิการรัฐอย่าง

             เดียว
                       (3) การจัดระบบความมั่นคงทางสังคม (Social security system) ของประเทศ ในรูปแบบสากล
             คือ ระบบที่ประกอบไปด้วย ระบบประกันสังคม ที่เป็นระบบบ านาญ (Social insurance – Pension
             system) และระบบประกันสุขภาพ (Health insurance) และสวัสดิการสังคม (Social welfare) ที่เป็นการ

             คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุเมื่อเกษียณและเมื่อพิการหรือไร้ความสามารถที่มีความมั่นคงและไม่มีการเลือก
             ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ
                       (4) การจัดระบบสวัสดิการสังคม ให้หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในแต่ละด้านก าหนดโครงการทั้งใน
             รูปของบริการที่ไม่เสียเงิน และผู้ได้รับสวัสดิการร่วมเสียค่าใช้จ่าย และมีการก าหนดเกณฑ์ในการรับสวัสดิการ

             อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29