Page 204 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 204
146 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
มีรายได้ต่ า หรือที่เรียกว่าโครงการ Safety Net ส าหรับกฎหมายผู้สูงอายุ OAA และโครงการบริการต่าง ๆ
จะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติทุก 3 ปีจากรัฐสภา
2. ในการคุ้มครองผู้สูงอายุเพื่อคงความอิสระในการด าเนินชีวิต จะเป็นโครงการที่ให้บริการถึง
บ้านและในชุมชน โดยไม่มีเกณฑ์คัดเลือกผู้ขอเข้ารับบริการ และผู้รับบริการอาจจะได้รับบริการโดยไม่ต้อง
จ่ายเงิน หรืออาจจะต้องร่วมจ่ายเงิน โดยมีหน่วยงานจากรัฐบาลกลางและเครือข่ายการบริการผู้สูงอายุใน
ชุมชนร่วมกันด าเนินการ ภายใต้การก ากับดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุขและการบริการมนุษย์ (the
Department of Health and Human Services – DHHS) งบประมาณของโครงการในท้องถิ่นเป็น
งบประมาณจากการจัดสรรโดยรัฐบาลกลาง
3. ในกรณีของโครงการต่อต้านความยากจน จะเป็นการให้สวัสดิการความช่วยเหลือด้านต่างๆแก่
ผู้สูงอายุและครอบครัวที่ยากจนหรือมีรายได้ต่ า ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจนโดยการใช้เส้นขีดความยากจน
(Poverty threshold) หรือเส้นขีดรายได้ขั้นต่ า (Minimum income threshold) และเป็นโครงการช่วยเหลือ
หลากหลายประเภททั้งด้านสุขภาพ อาหาร ที่อยู่อาศัย การสื่อสาร การฝึกอบรมงาน ด าเนินการโดยหน่วยงาน
รัฐกลางและมลรัฐที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณที่ใช้ด าเนินงานจะเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.4 ประเทศอังกฤษ
สหราชอาณาจักรหรือที่เรียกกันทั่วไปในประเทศไทยว่า “อังกฤษ” ก าลังเผชิญกับภาวะที่ประชากร
สูงอายุก าลังเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่หลายประเทศในยุโรปก าลังประสบเช่นเดียวกัน ซึ่งภาวะดังกล่าวมี
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก โดยหัวข้อนี้ผู้วิจัยจะศึกษาถึงการ
คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพและด้านกระบวนการยุติธรรม
3.4.1 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ
ในหัวข้อนี้จะได้ศึกษาถึงการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ โดยจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นซึ่ง
ก าลังมีการด าเนินการและเป็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ การขยายอายุการท างานหรือการขยายอายุ
เกษียณและการจ้างงานผู้สูงอายุนั่นเอง
3.4.1.1 สถานการณ์
170
(1) การขยายอายุเกษียณ
โครงสร้างประชากรในประเทศก าลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุ โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุ
นั้นเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่สัดส่วนประชากรวัยท างานกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมส่งผล
ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขาดแคลนแรงงานในอนาคต
170 จาก โครงการทบทวนวรรณกรรมบทเรียนประสบการณ์ทางนโยบายการขยายอายุการท างานจากสามประเทศ
(สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสิงคโปร์) (น. 3), โดย สวรัย บุณยมานนท์ และปภัศร ชัยวัฒน์, มปป., กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)