Page 205 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 205
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 147
ประกอบกับภาระทางด้านงบประมาณของประเทศ เป็นสองปัจจัยที่ส าคัญ ที่ผลักดันให้สังคมเกิดความ
ตระหนักถึงความจ าเป็นในการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประเทศที่มีนโยบายรัฐสวัสดิการ จึงจ าเป็นต้องออกกฎหมาย หรือนโยบายเพื่อขยายอายุเกษียณ (retirement
age) ตลอดจนอายุที่จะได้รับประโยชน์จากบ านาญ (pension age) เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว
หากท าการวิเคราะห์ระยะเวลาเกษียณอายุตั้งแต่ปี 1949 พบว่า สหราชอาณาจักรก าหนดอายุ
เกษียณ (retirement age) ตามกฎหมายส าหรับแรงงานชายไว้ที่อายุ 65 ปี และได้วางแนวทางในการเพิ่มอายุ
เกษียณในอนาคตเป็น 66 ปี ในปี 2030 เพิ่มเป็น 67 ปี ในปี 2040 และเพิ่มเป็น 68 ปี ในปี 2050 ส าหรับ
แรงงานหญิงนั้น ก าหนดให้อายุเกษียณเฉลี่ยต่ ากว่าแรงงานชาย คือเท่ากับอายุ60ปี ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอายุ
เกษียณของแรงงานหญิงในสหราชอาณาจักรจะปรับขึ้นเป็น 65 ปี เท่าอายุเกษียณของแรงงานชายในปี 2020
และได้มีแนวทางในการเพิ่มอายุเกษียณในอนาคต เป็น 66 ปี ในปี 2030 เพิ่มเป็น 67 ปี ในปี 2040 และเพิ่ม
68 ปี ในปี 2050 ดังแสดงในรูปที่ 24
รูปที่ 24 อายุเกษียณและอัตราการเติบโตของแรงงานชายและหญิงในสหราชอาณาจักร ปี 1958-2050
ทั้งนี้ การด าเนินการขยายอายุเกษียณนั้นได้ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย ดังนั้น หากหน่วยงานใดมี
การปลดเกษียณแรงงานไม่ตรงกับระยะเวลาที่ก าหนด จะถือเป็นการท าผิดกฎหมาย โดยนายจ้างในทุก
หน่วยงานจะต้องแจ้งให้แรงงานทราบถึงนโยบายการลาออกจากงานก่อนอายุเกษียณ และเกณฑ์อายุปลด
เกษียณตามกฎหมาย ตลอดจนทางเลือกต่าง ๆ ที่มีตามนโยบายและมาตรการส่งเสริมการจ้างงานในผู้สูงอายุ
ให้แรงงานทราบอย่างชัดเจนและทั่วถึง รวมทั้งยึดถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเป็นธรรม