Page 179 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 179
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 121
รูปที่ 18 สัดส่วนประชากรอายุประมาณ 1 ใน 4 จะมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
3.3.1.1 สถานภาพสมรสและการจัดการอยู่อาศัย
(Marital Status and Living Arrangements)
สถานภาพสมรสและการจัดการอยู่อาศัยมีบทบาทส าคัญในการช่วยเหลือทางสังคม ความอยู่ดีมี
สุขทางเศรษฐกิจ และการมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) ตั้งแต่ปี 1960 สัดส่วนของผู้หญิงสูงอายุ
ที่มีสถานภาพสมรสมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้หญิงที่เป็นหม้ายมีสัดส่วนที่ลดลง (รูปที่ 19) ส่วนใหญ่เป็น
เพราะการเพิ่มอายุขัย (Life expectancy) ในกลุ่มประชากรผู้ชายสูงขึ้น ส าหรับประชากรทั้งชายและหญิงที่
โสดไม่แต่งงาน มีอยู่ประมาณไม่ถึงร้อยละ 10 และสัดส่วนของประชากรที่หย่าร้างมีสูงขึ้น
(1) สถานภาพสมรส
แนวโน้มของสถานภาพสมรสจะเปลี่ยนไปภายในปี 2030 เมื่อกลุ่ม Baby boomers
ได้กลายเป็นประชากรสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) เนื่องจากในช่วงเยาว์วัยของกลุ่มประชากรนี้ ได้รับ
อิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในการแต่งงานและการสร้างครอบครัวในช่วงปลายทศวรรษ 1960s
ต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1980s ที่มีการชะลอการแต่งงานและการมีบุตร อัตราการหย่าร้างสูงขึ้น การอยู่
ด้วยกันโดยไม่แต่งงาน (Cohabitation) และการมีบุตรโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
ผลที่ตามมา คือ สถานภาพสมรสของกลุ่ม Baby boomers ในช่วงวัยสูงอายุจึงแตกต่างไปจากคนรุ่นก่อน
ตัวอย่างเช่น กลุ่ม Baby boomers อายุระหว่าง 45 – 63 ปี จะมีสัดส่วนไม่แต่งงาน ถึงร้อยละ 34 ซึ่งสูงกว่า
คนในรุ่นก่อนมาก กลุ่ม Baby boomers ซึ่งมีสถานภาพโสดมากกว่า จะมีสถานภาพเป็นหม้ายน้อยกว่า และมี
โอกาสไม่แต่งงานหรือหย่าร้างมากกว่าคนรุ่นก่อน ข้อมูลในปัจจุบันก็แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราหย่าร้าง