Page 177 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 177
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 119
3.2.5 นัยยะของการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุญี่ปุ่นที่อาจจะน ามาใช้เป็นข้อเสนอแนะ
บทสรุปจากการศึกษาการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในกรณีการเลือกปฏิบัติต่ออายุที่มีความส าคัญต่อ
การเสนอแนะนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุไทย ได้แก่
1. มีการออกกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่ออายุ และกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงในการจ้างงาน
ผู้สูงอายุ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุในการสมัครและได้รับเข้าท างานในระบบการจ้างงาน และท าให้ประสบ
ความส าเร็จในการขยายอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 65 ปี โดยที่มีขั้นตอนระยะเวลาที่ชัดเจนในการให้เวลาแก่
นายจ้างได้ปรับวิธีการจ้างงาน รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะ “ไม้นวม” ที่ให้นายจ้าง “ใช้ความ
พยายาม” หรือการส่งหนังสือ “แนวปฏิบัติ (Guidelines)” จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ Social
sanction จากการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค แทนการลงโทษทางกฎหมายโดยการปรับหรือจ าคุก
2. มีหน่วยงานปฏิบัติในระดับท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ง่ายในการร้องเรียนเมื่อมีปัญหาถูก
เลิกจ้างหรือขอความช่วยเหลือในการจัดหางานเมื่อต้องการท างาน เช่น ส านักงานเพื่อความมั่นคงทางอาชีพ
(Hello Work) หรือ ศูนย์ทรัพยากรมนุษย์ผู้สูงวัย (Silver Human Resource Center)
3. มีระบบประกันสังคมที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ท าให้มีการพัฒนาระบบประกันสังคมที่
สามารถครอบคลุมพลเมืองที่เป็นก าลังแรงงานของประเทศทั้งหมด (Universal coverage)
4. ระบบประกันสังคม มีทั้งระบบบ านาญ และระบบประกันสุขภาพ ระบบบ านาญประกอบไปด้วย
บ านาญพื้นฐานที่เป็น universal coverage ทั้งต่อผู้ประกัน ผู้อยู่ข้างหลัง (Survivors) และผู้พิการ และ
บ านาญเพิ่มเติม ในขณะที่ระบบประกันสุขภาพ มีการแยกประเภทการประกันสุขภาพส าหรับผู้ที่อายุต่ ากว่า
75 และผู้ที่อายุ 75 ปีขึ้นไป และในกลุ่มอายุต่ ากว่า 75 ปี จะแบ่งประเภทการประกันไปตามอาชีพ ตามพื้นที่
หรือตามท้องถิ่น และตามอาชีพพิเศษ ส่วนกลุ่มผู้ประกันอายุ 75 ปีขึ้นไป จะเป็นประเภทการประกันการดูแล
ระยะยาว
3.3 ประเทศสหรัฐอเมริกา
การสูงอายุของประชากรในสหรัฐอเมริกา มีสาเหตุส าคัญจากภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงลดลงและการ
อพยพเข้าประเทศเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ าครั้งใหญ่ (the Great Recession) ในระหว่างปี 2007 –
2009 ปัจจัยส าคัญทั้งสองนี้ท าให้สัดส่วนประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น การเพิ่มสัดส่วนของประชากร
อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปในปัจจุบัน เป็นแนวโน้มทางประชากรที่ส าคัญในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เป็น
ประชากรกลุ่ม Baby boomers (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1946 ถึง 1964) ที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสทาง
เศรษฐกิจ การจัดสิ่งอ านวยความสะดวก (infrastructure) และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางสถาบันที่
เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่ได้ผ่านขั้นตอนของการด าเนินชีวิตมาจนถึงใกล้ขั้นสุดท้าย ถึงแม้ว่าผู้
ก าหนดนโยบายของประเทศสหรัฐได้มีเวลาหลายทศวรรษในการวางแผนรองรับกลุ่ม Baby boomers แต่ก็ยัง