Page 176 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 176

118 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)


                    อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เมื่อสถานประกอบการไม่ปฏิบัติตามในการรับคนเข้าท างานด้วยการ

             เลือกปฏิบัติต่ออายุ และส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องคดีขึ้น ศาลจะไม่สั่งให้สถานประกอบการรับผู้ฟ้องร้องเข้า
             ท างานตามหลักการของการมีอิสรภาพในการท าสัญญา กฎหมาย EMA เพียงต้องการให้นายจ้างเปิดโอกาสการ
             จ้างงานที่เท่าเทียมกันในการรับเข้าท างานและไม่ได้ให้สิทธิในการเรียกร้องการจ้างงานแก่ส่วนบุคคล อย่างไรก็
             ตาม ศาลอาจจะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยต่อความเสียหายที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ (Non-economic

             damages) แก่ผู้ฟ้องร้องในคดีแพ่ง (กฎหมายแพ่ง มาตรา 709)
                    ยิ่งกว่านั้น การที่สถานประกอบการมีการเลือกปฏิบัติต่ออายุกับผู้ท างานโดยไม่มีเหตุผลตามที่กฎหมาย
             อนุญาต คนงานก็ไม่มีสิทธิในการฟ้องร้องเกี่ยวกับการจ้างงานหรือการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ใน
             มาตรา 3 ของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน (Article 3 under Labor Standards Act - LSA) ปี 1947 ซึ่งระบุ

             ถึงหลักการการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันในสัญญาจ้างงาน ได้ห้ามการเลือกปฏิบัติในด้านเชื้อชาติ สถานภาพทาง
             สังคม และความเชื่อทางศาสนา เท่านั้น รวมทั้งรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ปี 1946 ซึ่งให้การประกันในเรื่องของ
             ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย โดยห้ามการเลือกปฏิบัติต่อชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนา เพศ สถานภาพ
             ทางสังคม หรือครอบครัวที่ก าเนิด (มาตรา 14 วรรค 1) แต่การเลือกปฏิบัติต่ออายุ ไม่ได้มีการระบุไว้ใน

             รัฐธรรมนูญ ดังนั้น ผู้สูงอายุหรือลูกจ้าง ก็ไม่สามารถน ามากล่าวอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายบน
                                                                        152
             หลักการความเท่าเทียมกันภายใต้มาตรานี้ และภายใต้มาตรา 7 ของกฎหมาย EMA
                    ดังนั้น การก าหนดมาตรการการจ้างงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติต่ออายุในญี่ปุ่น จึงเป็นการ
             ด าเนินการผ่านนโยบายการจ้างงานมากกว่านโยบายสิทธิมนุษยชน การก ากับดูแลแบบอ่อน ๆ เช่น “หน้าที่ที่

             ต้องพยายาม” (“duty to endeavor”) มีบทบาทส าคัญในการพัฒนากฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่ออายุ
             ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในอนาคต การก าหนดมาตรการเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่ออายุโดยการบัญญัติเป็น
             กฎหมายมาบังคับใช้ในการก ากับดูแลการจ ากัดอายุในการรับเข้าท างาน จะมีแนวโน้มที่จะใช้แนวทางด้านสิทธิ
             มนุษยชน เนื่องจากอิทธิพลของกฎหมายที่ต่อต้านการเลือกปฏิบัติทั้งของสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ใน

             การกดดันให้ญี่ปุ่นต้องแก้ไขกฎหมายการเลือกปฏิบัติต่ออายุให้เป็นไปตามกฎหมายสากล









                  152 การตีความในลักษณะนี้ ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการด้านแรงงาน จากผลการตัดสินของศาลสูงในกรณีของ
             Mitsubishi Jushi ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทปฏิเสธการจ้างงานผู้สมัครงานที่ไม่ได้เปิดเผยถึงกิจกรรมในสมัยที่เป็นนักศึกษา
             เนื่องจากบุคคลผู้นี้โกหกในการสัมภาษณ์ การปฏิเสธรับเข้าท างาน เป็นการผิดหลักการของความเท่าเทียมกันในการจ้างงาน
             ภายใต้กฎหมาย LSA และรัฐธรรมนูญมีประกันเสรีภาพในความเชื่อ (มาตรา 19) และความเท่าเทียมกัน (มาตรา 14) อย่างไรก็
             ตาม ศาลสูงได้พิจารณาตัดสินว่า สิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เกี่ยวข้องบังคับใช้โดยตรงต่อส่วนบุคคล
             นอกจากนั้น ศาลยังตัดสินว่า หลักการในการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย LSA จะใช้บังคับในกรณีของเงื่อนไขการ
             ท างานหลังการรับเข้าท างาน (Post hiring working conditions) ไม่ใช้บังคับในกระบวนการระหว่างการรับเข้าท างาน ศาลได้
             เน้นว่า หลักการของเสรีภาพในการท าสัญญา ควรจะใช้กับกรณีที่ไม่มีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือมีการจ ากัดอย่างอื่นในการรับเข้า
             ท างาน (Sakuraba, op.cit.)
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181