Page 168 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 168
110 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
3.2 การส่งเสริมการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)
เพื่อเป็นการด าเนินการมาตรการในการส่งเสริมการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal design)
และการขนส่งที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง (Barrier-free transport) ส าหรับการรองรับสังคมสูงอายุ และการเตรียมการ
จัดงาน Tokyo Olympics และ Paralympics ในปี 2020 ที่ประชุมกระทรวงที่เกี่ยวข้องและประสานงานด้าน
Universal design 2020 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ได้มี มติให้มีมาตรการด าเนินการเกี่ยวกับ barrier-free
ทั้งพื้นผิวและความต่อเนื่องตั้งแต่สนามบินจนถึงถนนที่มีการจัดการแข่งขัน มาตรส่งเสริมการขนส่งที่ barrier
free ทั่วประเทศ มาตรการส่งเสริมความคิดหรือทัศนคติเกี่ยวกับ barrier free และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี
2017 ได้มีการก าหนด แผนปฏิบัติการ Universal Design 2020 (the “Universal Design 2020 Action
Plan”)
3.3 การส่งเสริมความปลอดภัยทางจราจร (Ensuring Traffic Safety)
ในปี 2015 ได้มีการปรับปรุง กฎหมายการจราจรทางถนน (the “Act on Partial Revision of
the Road Traffic Act” (Act No. 40 of 2015)) เพื่อให้ส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนแก่ผู้สูงอายุ
โดยเฉพาะการป้องกันและการลดอุบัติเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่รถยนต์สูงอายุ โดยมีการแนะน าการทดสอบความจ า
และการรับรู้เป็นครั้งคราว (Occasional cognitive test) (มีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2017) รวมทั้ง ได้มี
การจัดตั้ง คณะกรรมการระดับรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรโดยคนขับสูงอายุ (the
“Ministerial Council on Measures for the Prevention of Traffic Accidents by Elderly Drivers”)
และ คณะท างานเพื่อหามาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุจากคนขับสูงอายุ ("the Working Group for
Measures to Prevent Traffic Accidents by Elderly Drivers”) ในเดือนพฤศจิกายน 2016 โดยมีศูนย์
ปฏิบัติการที่ The Traffic Safety Headquarters เพื่อเสนอมาตรการต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
3.4 การส่งเสริมการใช้ระบบการคุ้มครองพิทักษ์ผู้ใหญ่ (Adult Guardianship System)
รัฐบาลญี่ปุ่นได้น าระบบการคุ้มครองพิทักษ์ผู้ใหญ่มาใช้ตั้งแต่ปี 2000 เพื่อช่วยเหลือผู้สูญเสีย
ความสามารถในพิจารณาและตัดสินใจอย่างเหมาะสมถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่ เนื่องจากการสูญเสีย
ความทรงจ าหรือมีปัญหาทางสมอง ในปี 2016 ได้มีการบัญญัติ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ระบบการ
คุ้มครองพิทักษ์ผู้ใหญ่ (the Act on the Promotion of Utilization of the Adult Guardianship System
(Act No. 29 of 2016)) และมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม Adult Guardianship System ขึ้นมาศึกษา
และเสนอแผนการด าเนินงาน “the Basic Plan for Promotion of the Adult Guardianship system” ใน
เดือนมีนาคม 2017 แก่คณะรัฐมนตรี (ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับรองแผนการด าเนินการ) เป้าหมายทาง
นโยบายของแผนงานนี้ คือ การปรับปรุงระบบและการปฏิบัติงานที่ให้ผู้ใช้หรือผู้สูงอายุได้รับประโยชน์ การ
สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิ การป้องกันการหลอกลวง และการสร้างความราบรื่นในการ
เข้าถึงแก่ผู้สูงอายุ ผ่านคณะกรรมการร่วมในแต่ละเทศบาลในการประสานงานระหว่างเทศบาล ศาลครอบครัว
สมาคมทนายความ องค์กรด้านสวัสดิการสังคม และสถาบันทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้อง