Page 103 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 103
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 45
62
ปัจจุบัน ตามอ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก าหนดให้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสถานะเป็นองค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ และในมาตรา 247 ได้บัญญัติ
อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ด าเนินการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่
เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งให้การช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรได้เห็นความส าคัญและตระหนักถึงการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังจะต้องด าเนินการให้เกิดการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
กฎหมาย พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามอีกด้วย
อนึ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการจากการเกิดรับเรื่องร้องเรียนการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุ เช่น
(1) รายงานผลการตรวจสอบที่ 815-816/2558 ว่าด้วยเรื่องร้องเรียนกรณีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและ
คนพิการไม่เป็นธรรมซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความเห็นต่อ
กระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจ่ายเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุและคนพิการ โดยเป็นการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อ
63
ป้องกันผู้สูงอายุและคนพิการถูกลิดรอนสิทธิในการได้รับเบี้ยยังชีพและเบี้ยความพิการ หรือรายงานผลการ
ตรวจสอบที่ 184/2559 ว่าด้วยข้อร้องเรียนกรณีกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ และไม่ได้รับเงิน
62 มาตรา 247 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติมีหน้าที่และอ านาจ ดังต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า และเสนอแนะ
มาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย
จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี และ
เผยแพร่ต่อประชาชน
(3) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(4) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนใน
ประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
(5) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชน
(6) หน้าที่และอ านาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
เมื่อรับทราบรายงานตาม (1) และ (2) หรือข้อเสนอแนะตาม (3) ให้คณะรัฐมนตรีด าเนินการ ปรับปรุงแก้ไขตามความ
เหมาะสมโดยเร็ว กรณีใดไม่อาจด าเนินการได้หรือต้องใช้เวลาในการด าเนินการ ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติทราบโดยไม่ชักช้า
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องค านึงถึงความผาสุกของประชาชนชาวไทยและ
ผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นส าคัญด้วย
63 จาก รายงานผลการตรวจสอบ ที่ 815-816/2558 เรื่อง สิทธิในการได้รับสวัสดิการจากรัฐ สิทธิคนพิการและผู้สูงอายุ
กรณีกล่าวอ้างว่าการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการ ไม่เป็นธรรม.