Page 105 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 105
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 47
2.3.2 องค์กรอื่น ๆ ของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่หลักในการคุ้มครองสิทธิ
2.3.2.1 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม อาศัย
67
อ านาจตามความในมาตรา 8 ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543
ได้ก าหนดให้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึง
ได้รับตามกฎหมาย โดยการจัดวางระบบและส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับกรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ ตลอดจนการด าเนินการให้พยาน ผู้เสียหาย และจ าเลยในคดีอาญาได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือ
เยียวยาในเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองและการดูแลจากรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
68
จากภารกิจดังกล่าวในกฎกระทรวง ท าให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีอ านาจหน้าที่ใน
การจัดระบบการบริหารจัดการ ส่งเสริมและพัฒนาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รวมถึงการพัฒนากลไกใน
การระงับข้อพิพาทของประชาชน ทั้งนี้ยังมีอ านาจหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกเป็นจ าเลย
ในคดีอาญาแต่มิได้เป็นผู้กระท าความผิดให้ได้รับค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายอันเป็น
การเยียวยาตามกฎหมายอย่างหนึ่งด้วย
69
ในการด าเนินงานตามภารกิจกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพนั้น แยกได้เป็น 3 มิติ ได้แก่
(1) มิติการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและการจัดการความขัดแย้ง เป็นการส่งเสริม ป้องกันและปกป้อง
สิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกกระท าการละเมิด ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่และ
การเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมทั้ง การส่งเสริมการระงับข้อพิพาทและการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งเป็นมาตรการ
ในเชิงป้องกัน (มาตรการเชิงรุก)
(2) มิติการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยเป็นการช่วยเหลือ เยียวยาผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับ
การช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ด้วยการพัฒนา ระบบ มาตรการและด าเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็น
ผู้เสียหายและจ าเลยในคดีอาญาการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามกฎหมาย การรับเรื่องราวร้องทุกข์และให้
ค าปรึกษาทางกฎหมาย ซึ่งเป็นมาตรการในเชิงช่วยเหลือ เยียวยา (มาตรการเชิงรับ)
(3) มิติการสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชน เป็นการยกระดับสิทธิเสรีภาพตามบริบทของประเทศ
ไทยให้ทัดเทียมกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันว่าจะได้รับการส่งเสริม ปกป้อง
67 มาตรา 8 ฉ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 บัญญัติว่า การ
แบ่งส่วนราชการภายในส านักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็น
กฎกระทรวงและให้ระบุอ านาจหน้าที่ชองแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย.
68 จาก อ านาจหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, โดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, 2554, สืบค้นจาก
http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/2012-06-20-05-54-34/2012-06-20-05-59-29
69 จาก ภารกิจหลักของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, โดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, 2554, สืบค้นจาก
http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/2012-06-20-05-54-34/2012-06-20-06-00-54