Page 17 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 17
16 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
15
14
democracy) โดยสะท้อนออกจากข้อมติและข้อแนะนำาหลายครั้ง เพื่อที่จะทำาให้การแสดงออกซึ่งความคิดเห็น
เป็นไปอย่างเสรีตามหลักเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด เพื่อเป็นการตรวจสอบการทำางานภาครัฐ และ
เพื่อเปิดโปงและป้องกันการกระทำาอันทุจริตหรือมิชอบของภาครัฐ โดยผู้ที่ติดตามตรวจสอบไม่ต้องอยู่ภายใต้
ความเกรงกลัวเรื่องการถูกฟ้องและถูกลงโทษจำาคุกทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และแม้การใช้เสรีภาพในการ
แสดงออกดังกล่าวอาจไปพาดพิงบุคคลอื่น ก็ควรกำาหนดให้เป็นความรับผิดทางแพ่ง ที่อยู่ในบริบทของการเรียก
ค่าเสียหายแทน
16
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีแนวคิดที่จะให้มีการลงโทษทางอาญาฐานหมิ่นประมาทอยู่มาก
และผู้ที่ดำาเนินคดีฐานหมิ่นประมาทก็มีทางเลือกมากมายเพื่อเรียกร้องประโยชน์ที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการฟ้อง
คดีแพ่ง การฟ้องคดีอาญา และการร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำาเนินคดีให้ หากเป็นกรณีหมิ่นประมาททั่วไปที่
17
ไม่ใช่กรณีของการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม ผู้ดำาเนินคดีมีทางเลือกที่จะดำาเนินคดีหลายทาง ซึ่งจากการศึกษา พบว่า
การฟ้องคดีอาญาเองและการร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำาเนินคดีอาญาให้เป็นแนวทางที่ให้ “ประโยชน์รวม”
(total benefit) กับผู้ดำาเนินคดีมากกว่า “ต้นทุนรวม” (total cost) ที่ผู้ดำาเนินคดีจะต้องสูญเสีย เหตุที่การดำาเนิน
คดีอาญามีต้นทุนน้อยกว่าการดำาเนินคดีแพ่ง เพราะคดีอาญาไม่มีค่าขึ้นศาลและค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดี และ
เหตุที่การดำาเนินคดีอาญาให้ประโยชน์กับผู้ดำาเนินคดีมากกว่าการดำาเนินคดีแพ่ง เพราะโทษทางอาญาและประวัติ
ว่าได้กระทำาความผิดในทางอาญามีความรุนแรง น่าเกรงกลัว และอาจสร้างความเสียหายให้กับผู้กระทำาความ
ผิดอย่างมาก จึงเป็นการใช้การดำาเนินคดีอาญามาบีบและสร้างอำานาจต่อรองให้กับผู้ดำาเนินคดีเหนือผู้กระทำา
ความผิดในกรณีที่มีการเจรจาประนีประนอมยอมความ
การใช้การดำาเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะหรือ
การดำาเนินคดีอาญาหมิ่นประมาทโดยการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม ก็เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันใน
มุมมองของผู้ดำาเนินคดี แม้ว่าผู้ดำาเนินคดีอาญาหมิ่นประมาทโดยการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม อาจจะไม่ต้องการ
14 From Council of Europe, Resolution 1577 (2007) number 1, by Parliamentary Assembly,
Retrieved from http://assembly.coe.int/nw/xml/XRef/Xref-XML2HTML-en.asp?fileid=17588&lang=en
15 “ข้อแนะนำา” (recommendation) ที่ 1589 ปี ค.ศ. 2003 เกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกของ
สื่อมวลชนในยุโรป “ข้อมติ” (resolution) ที่ 1535 ปี ค.ศ. 2007 เกี่ยวกับเรื่องการข่มขู่ชีวิตและเสรีภาพของสื่อมวลชน
และล่าสุดรัฐสภายุโรป European Council ได้มีข้อมติ (resolution) ที่ 1577 เมื่อ ปี ค.ศ. 2007 เรื่องการมุ่งไปสู่การ
ยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท (Towards decriminalization of defamation). จาก แนวทางการยกเลิกโทษ
อาญาในกฎหมายเช็คและกฎหมายหมิ่นประมาท ใน โครงการวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วย
เศรษฐศาสตร์, โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคนอื่น ๆ, 2554, กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
16 สะท้อนจากความเห็นส่วนหนึ่งของการนำาเสนอรายงานการวิจัย. จาก แนวทางการยกเลิกโทษอาญา
ในกฎหมายเช็คและกฎหมายหมิ่นประมาท. หน้าเดิม.
17 แหล่งเดิม.