Page 14 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 14
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 13
4 ลักษณะก�รดำ�เนินคดีเพื่อยับยั้งก�รมีส่วนร่วมในประเด็นส�ธ�รณะ
การมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะที่ไม่มีผลทางกฎหมายและที่มีผลทางกฎหมายสามารถนำาไปสู่
การดำาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะได้ทั้งสิ้น โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ถูกตรวจสอบ
สามารถใช้มาตรการตอบโต้เพื่อทำาลายแรงจูงใจของผู้ตั้งประเด็นตรวจสอบได้หลายทาง ไม่ว่าจะใช้วิธีการนอก
กฎหมาย เช่น ขู่เข็ญจะทำาอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ซึ่งวิธีการนอกกฎหมายนี้ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องข่มขู่
หรือคุกคาม และอยู่นอกเหนืองานศึกษาชิ้นนี้ แต่หากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ถูกตรวจสอบใช้วิธีการทางกฎหมาย
จะเรียกว่า “SLAPP” หรือการดำาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ
11
การดำาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะมีหลายวิธี เช่น การดำาเนินคดี
หมิ่นประมาททั้งทางแพ่งและทางอาญา และการดำาเนินคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จหรือฟ้องอาญาเท็จ
4.1 หมิ่นประม�ท
การดำาเนินคดีหมิ่นประมาทถูกนำามาใช้เพื่อการยับยั้งการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ
อย่างมาก เพราะเหตุว่ากฎหมายไทยได้กำาหนดให้หมิ่นประมาทเป็นทั้งความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทาง
อาญา ผู้ที่ตรวจสอบกิจการสาธารณะ หากได้แสดงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการสาธารณะ อาจถูก
หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องร้องหรือดำาเนินคดีหมิ่นประมาทได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา เพื่อใช้
การดำาเนินคดีหมิ่นประมาทเป็นเครื่องมือที่จะยับยั้งการแสดงข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นในกิจการสาธารณะ
หมิ่นประมาททางแพ่งบัญญัติเป็นความรับผิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
423 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง
หรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำามาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี
ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้
รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสีย
โดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำาให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”
ผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาทจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 438 ซึ่งบัญญัติว่า “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควร
แก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหาย
11 ในบางประเทศมีวิธีการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม (SLAPP) มากกว่าที่กล่าวไว้นี้ เพราะบริบทบางประเทศ
มีการใช้การดำาเนินคดีอาญาฐานองค์กรอาชญากรรมเป็นเครื่องมือของ SLAPP ซึ่งไม่ปรากฏในประเทศไทย