Page 14 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 14

2



                       เป็นของประชาชนและชุมชน จึงนับเป็นการสร้างอัตลักษณ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าในชุมชน
                       ท้องถิ่นของตนขึ้นใหม่ด้วยองค์ความรู้ กระบวนการ และความส้าเร็จในการบริหารจัดการน้้าตาม

                       ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น

                              ส้าหรับการจัดการทรัพยากรน้้าด้วยวิธีการชี้ให้เห็นถึงปัญหาความขัดแย้งและความเดือดร้อน
                       จากการด้าเนินนโยบายและโครงการพัฒนาแหล่งน้้าที่ผ่านมาในช่วงหลายสิบปี ซึ่งเกิดวิกฤตใน

                       ทรัพยากรน้้ามากมายโดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในทรัพยากรน้้าของประเทศด้ารงอยู่มาเป็น

                       เวลานาน เนื่องจากปัญหาการจัดสรรน้้าระหว่างรัฐกับราษฎร หรือระหว่างราษฎรกับราษฎร และ
                       แม้กระทั่งระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของเมืองและ

                       ภาคอุตสาหกรรม และเมื่อเขตพื้นที่ทั่วประเทศต้องประสบกับสภาวะภัยพิบัติเกี่ยวกับน้้า (ส้านักงาน

                       ทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562) ตัวอย่างเช่น 1) สถานการณ์ ปัญหาการเกิดมหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554
                       ซึ่งได้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 1.44 ล้านล้าน

                       บาท (ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562) ราษฎรได้รับผลกระทบมากกว่า 13.1 ล้านคน (สาธิต

                       วงศ์อนันต์นนท์, 2554) และในบางพื้นที่เห็นความขัดแย้งในประเด็นการเปิดและปิดประตูระบายน้้าจน
                       ก่อให้เกิดการท้าลายเขื่อนกั้นน้้า (อดิศักดิ์ ขันตีและ อุทัย เลาหวิเชียร, 2559) 2) สถานการณ์ ปัญหาการ

                       แย่งชิงน ้า เนื่องจากน้้าแล้งหรือปัญหาภัยแล้งซ้้าซาก เช่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศิริพงษ์

                       หังสพฤกษ์ และพิพัฒน์ กัญจนพฤกษ์, 2548; ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562) 3) สถานการณ์
                       ปัญหาการบริหารงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน ้า ที่ท้างานเฉพาะในภารกิจงานส่วนของตน

                       ระบบการจัดการน้้าจึงกระจัดกระจายไปเป็นส่วน ๆ (Fragmented) และไม่สามารถบูรณาการ

                       (integrate) การบริหารจัดการน้้าให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ (ส้านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2555)
                       และ 4) สถานการณ์ ปัญหากระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินในใจในนโยบายน ้าของรัฐ (ส้านักงาน

                       กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2555) ดังมีวลีที่ว่า “การจัดการน้้าเน้นที่เทคโนแครต ไม่เห็นหัวชาวบ้าน”

                       การกระท้าเหล่านี้จะไม่ท้าให้เกิดการไว้เนื้อเชื่อใจทางสังคม (Social Trust) จากปัญหาการจัดสรร
                       และบริหารจัดการน้้าดังกล่าว สถานการณ์เหล่านี้ จะเห็นว่ารัฐได้พยายามที่จะน้าเสนอโดยอ้างถึงสิทธิ

                       ในการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติรับรองไว้แล้ว โดยเฉพาะ

                       รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพในมาตรา 25 ซึ่งระบุไว้ว่า “สิทธิและ
                       เสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่

                       มิได้ห้ามหรือจ้ากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะท้าการนั้นได้

                       และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่
                       กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ

                       ประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น” (ราชกิจจานุเบกษา, 2560)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19