Page 77 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 77

70


                       ด้านการรักษาพยาบาล คนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของรัฐ เนื่องจาก

               ต้องใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวในการเข้ารับการรักษา

                       ด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน คนไทยพลัดถิ่นไม่สามารถ เปิดบัญชีธนาคารเพื่อฝากเงินได้เนื่องจาก

               ต้องใช้บัตรประชาชนยืนยันตัว  คนไทยพลัดถิ่นต้องอาศัยเครือญาติที่รู้จักเปิดบัญชี จึงใช้วิธีการในการเก็บออม
               เงินโดยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์

                       ในการได้รับสัญชาติไทย ก่อนที่จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 คน

               ไทยพลัดถิ่นต้องใช้วิธีการได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งคนไทยพลัดถิ่นยังมีทัศนคติต่อภาครัฐ-ราชการ

               เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในเชิงลบ อาทิ กระบวนการแปลงสัญชาติใช้เวลานาน

               มาก เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติดูถูกคนไทยพลัดถิ่น กระบวนการล่าช้าเนื่องจากปัญหาบุคลากรไม่
                                                                                                    83
               เพียงพอ ซึ่งในความนึกคิดของคนไทยพลัดถิ่นนั้นไม่ต้องการการแปลงสัญชาติแต่ต้องการคืนสัญชาติ  หรือ
               แม้แต่ในกระบวนการยุติธรรม เมื่อเกิดอาชญากรรมคนไทยพลัดถิ่นต้องพบกับปัญหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับ

               แจ้งความ เช่น กรณีหญิงสาวถูกข่มขืนแต่กลับถูกข่มขู่และถูกแจ้งความกลับ ในข้อหาเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมือง

               ผิดกฎหมาย   เป็นต้น
                         84
                       ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2555 (ฉบับที่ 5) ใช้บังคับ จะเห็นได้ว่าปัญหาใหญ่ของคน

               ไทยพลัดถิ่น คือการไม่ได้สัญชาติไทยจนส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้
               มีการแก้ไข และให้สิทธิแก่คนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสถานะให้สามารถใช้สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้

               ตามสมควร ในระหว่างที่ยังอยู่ในกระบวนการคืนสัญชาติไทย เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล

               สิทธิในการเดินทาง เป็นต้น


                       2) สภาพปัญหาของกระบวนการขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นหลังการบังคับใช้

               พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
                       การศึกษาคนไทยพลัดถิ่นภาคใต้ ( จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนองและพังงา) ภายหลังการ

               บังคับใช้กฎหมายพบว่า คนไทยพลัดถิ่นที่เคยขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการปกครองมีทั้งหมดจำนวน 17,903 ราย

                                                                85
               และปัจจุบันมีการคืนสัญชาติไทยไปแล้วรวม 12,524 ราย  ซึ่งในกระบวนการขอคืนสัญชาติไทยโดยการขอ
               รับรองความเป็นไทยจากคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นนั้น ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมุมมอง

               ของคนไทยพลัดถิ่นเอง เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการได้สัญชาติไทย แต่ด้วยกระบวนการยื่นคำ




               83  อ้างแล้ว, รายงานสรุปกระบวนการและการสังเคราะห์แนวคิด แนวทางความร่วมมือส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนชาย
               ขอบ “สิทธิชุมชนกับคนไทยพลัดถิ่น:สิทธิและข้อเท็จจริง” วันที่ 6-7 มกราคม 2548 ณ.โรงแรมหาดทอง จ.ประจวบคีรีขันธ์
               84  อ้างแล้ว,วีนัส สีสุข, ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุลและกรกนก วัฒนภูมิ, น. 119

               85  สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ,ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและผลการดำเนินงานเกี่ยวกันคนไทยพลัดถิ่น  ณ วันที่
               30 เมษายน 2565
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82