Page 74 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 74
67
- กรณีกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย เข้ามาในแผ่นดินไทยก่อนเสียดินแดนและเข้ามา
ประกอบอาชีพในไทยเมื่อประมาณ 40-50 ปีที่แล้ว อาศัยอยู่ในจังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และตาก
คนกลุ่มนี้รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2540 ให้แปลงสัญชาติได้โดยถือเอกสารสำคัญ
ประจำตัวคนต่างด้าว ใบสำคัญที่อยู่อาศัยและทะเบียนบ้านชั่วคราว หรือถือบัตรเหลืองของน้ำเงินอายุครั้ง ละ
5 ปี
- กรณีกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า คือชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในพม่าและเข้ามาในประเทศ 20 กว่าปีมาแล้ว
หากคนกลุ่มนี้เข้ามาก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 ถือว่าเป็นคนไทย โดยคนกลุ่มนี้จะถือบัตรสีชมพูอายุครั้งละ 5
ปี โดยมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ว่าบิดาหรือมารดาที่อพยพเข้ามาก่อน 3 ตุลาคม 2538 ให้
ถือใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวและบุตรที่เกิดระหว่าง 14 ธันวาคม 2515 ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535
ให้ถือสัญชาติไทย
- กรณีกลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า เป็นกลุ่มที่เข้ามาประเทศไทยหลังวันที่ 9 มีนาคม 2519 แต่มี
ที่อยู่อาศัยโดยถาวรให้ถือบัตรประจำตัวสีส้ม อายุครั้งละ 5 ปีตามมติคณะรัฐมนตรี 17 มีนาคม 2535 ผ่อนผัน
ให้ตั้งหลักแหล่งถาวรได้ ในทะเบียนประวัติและบัตรที่ทางการออกให้และให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว โดยมี
ประกาศกระทรวงมหาดไทยวันที่ 2 พฤษภาคม 2538 ว่าด้วยการควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่าใช้ควบคู่
บัตรมีอายุครั้งละ 5 ปี
- กรณีกลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ประเภทเข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย กลุ่มนี้จะอาศัยอยู่
กับนายจ้างไม่ได้เป็นคนไทยแต่เป็นแรงงานต่างด้าว มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มีนาคม 2535 ผ่อนผันให้ใช้
แรงงานได้โดยใช้บัตรสีม่วง บัตรมีอายุครั้งละ 5 ปี
ต่อมาในปี 2549 บัตรสารพัดสีเหล่านี้ถูกลบหายไป เนื่องจากกรมการปกครองยุบรวมบัตรสีต่างๆ ทุก
ใบและเปลี่ยนเป็นบัตรสีชมพู (ทั้งสองด้าน) และใช้นามใหม่ว่า “บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” โดย
79
เลขประจำตัวของแต่ละคน และเลขกำกับกลุ่มยังคงอยู่เหมือนเดิม ส่วนกรณี“คนเลขศูนย์” มีจุดเริ่มต้นมาจาก
ยุทธศาสตร์การจัดการสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 เพื่อจด
และนับคนที่ปรากฏตัวในประเทศไทย แต่ไม่มีบัตรหรือเอกสารแสดงตนอะไรเลย (หรือที่สังคมไทยเริ่มคุ้นชิน
กับคำเรียกที่ว่าเป็น “คนไร้รัฐ” (Undocumented person) โดยกรมการปกครองนิยามคนกลุ่มนี้ว่า “ผู้ไม่มี
สถานะทางทะเบียนราษฎร” โดยจะได้รับการบันทึกชื่อและรายการส่วนบุคคลไว้ในทะเบียนประวัติประเภท
ท.ร.38 ก ได้รับการกำหนดเลขประจำตัวสิบสามหลักโดยหลักแรกคือเลขศูนย์และเลขกลุ่ม (หลักที่หกและหลัก
ที่เจ็ดของเลขสิบสามหลัก) จะเป็นเลข 89 บัตรของคนกลุ่มนี้จะเป็น “บัตรด้านหน้าสีขาวและด้านหลังสี
และข้อเท็จจริง”, เว็บไซต์ http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F06243.pdf,สืบค้นวันที่25 เมษายน
2565
79 ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ.2551