Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 73
66
บทที่ 4 คนไทยพลัดถิ่นกับปัญหาการขอคืนสัญชาติไทย
สำหรับการค้นหาปัญหาการขอคืนสัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับ
ที่ 5) พ.ศ. 2555 และกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 รวมถึงแนว
ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยได้แบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ 4.1 ข้อเท็จจริงของคนไทยพลัด
ถิ่นกับการขอสัญชาติไทย 4.2 ข้อค้นพบในกระบวนการขอคืนสัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่น 4.3 มุมมองของ
ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ และ 4.4 มุมมองของนักวิชาการและนักพัฒนาเอกชนต่อการบังคับใช้
กฎหมายและนโยบายของรัฐ
4.1 ข้อเท็จจริงของคนไทยพลัดถิ่นกับการขอคืนสัญชาติไทย
4.1.1ภูมิหลังกับเส้นแบ่งความเป็นคนไทยและคนไทยพลัดถิ่นและกระบวนการได้ซึ่ง
พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
ในการศึกษาคนไทยพลัดถิ่นภาคใต้ พบว่าคนไทยพลัดถิ่นคือกลุ่มคนไทยที่เคยมีชุมชนอยู่ในแผ่นดิน
ไทยสมัยก่อนบริเวณจังหวัดมะริด ตะนาวศรี ทวาย ก่อนที่ประเทศอังกฤษจะเข้ามามีอำนาจเหนือพม่าโดย
พื้นที่บริเวณดังกล่าวเคยเป็นดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาล
ที่ 5 ประเทศไทยได้เสียดินแดนแถบนั้นให้กับพม่าในสมัยการล่าอาณานิคม ซึ่งในสมัยอังกฤษปกครองพม่า
ชุมชนไทยสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างอิสระ ต่อมาในยุคของรัฐบาลพม่าเกิดการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า
ส่งผลให้หมู่บ้านไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่าตกอยู่ท่ามกลางสนามรบและต้องอพยพครั้งใหญ่
กลับฝั่งไทย โดยคนไทยพลัดถิ่นฝั่งพม่าส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่ในสังคมไทยตามหมู่บ้านชนบทและชุมชนเมือง
77
ในพื้นที่จังหวัดชายแดน เช่น ชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และในปัจจุบันคนไทยพลัดถิ่นบางส่วนก็มีการ
เคลื่อนย้ายถิ่นไปอยู่ที่จังหวัดพังงา
ในอดีตแนวทางการแก้ไขปัญหาคนไทยพลัดถิ่นนั้น รัฐได้มีเส้นแบ่งความเป็นคนไทยผ่านมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ 9 มีนาคม 2519 กำหนดห้ามคนไทยพลัดถิ่นเดินทางเข้าประเทศอีก และหากมีการเข้ามา
หลังวันที่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง อันทำให้คนไทยพลัดถิ่นที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
กลายเป็นชนกลุ่มน้อยและไม่ได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลไทยตามสิทธิพลเมือง เช่น ไม่มีใบเกิด ไม่ได้รับ
การศึกษา ไม่ได้รับการจดทะเบียน ไม่มีสิทธิถือครองอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีการแจ้งตาย ไม่มีสิทธิด้านการ
ปกครอง โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2519 ทำให้สถานะของคนไทยเปลี่ยนเปลงไปดังนี้
78
77 ฐิรวุฒิ เสนาคำ, ไทยพลัดถิ่นกับข้อจำกัดขององค์ความรู้ว่าด้วยรัฐชาติในสังคมไทย, (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550), น.166-167
78 ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รายงานสรุปกระบวนการและการ
สังเคราะห์แนวคิด แนวทางความร่วมมือส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนชายขอบ “สิทธิชุมชนกับคนไทยพลัดถิ่น:สิทธิ