Page 76 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 76

69


                       4.1.2 สภาพปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นในภาคใต้

                       1) สภาพปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นก่อนการบังคับใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.

               2555

                        ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 คนไทยพลัดถิ่นจำนวนมาก ที่ไม่มีช่องทาง

               ในการขอคืนสัญชาติ รวมถึงซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทำนองเดียวกับคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่ได้มีการรับรอง
               ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นด้วยที่เกิดปัญหาในการดำรงชีวิตอันเกิดจากความไร้รัฐไร้สัญชาติที่ส่งกระทบต่อสิทธิ

               ในด้านต่าง ๆ ได้แก่

                       ปัญหาด้านการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับฝ่ายปกครอง เช่น การไม่ได้รับสิทธิการแจ้งเกิดทั้งที่มี ทร. 14

               ทำให้ไม่มีเอกสารอะไรเลย เด็กที่เกิดถูกระบุว่าเป็นสัญชาติพม่า และการแจ้งเกิดให้เป็นบุตรของคนที่มีบัตร

               ประชาชน (โดยวิธีการฝากชื่อ) ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานใดๆ (มีแต่รูปถ่ายหมู่ที่ถ่ายกันเอง)  มีบัตรแล้วแต่เมื่อ

               หมดอายุก็ไม่สามารถต่ออายุได้ เช่น ใบขับขี่ บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค บัตรทองอนามัย และโรงพยาบาล ไม่มี
               ที่อยู่เป็นหลักแหล่งเกิดเป็นชุมชนแออัด ไม่มีหลักประกันในการถือครองทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน รถยนต์ จึงทำให้

               เกิดปัญหากับตัวแทนในการถือครองทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

                       ด้านการศึกษา พบว่าแม้คนไทยพลัดถิ่นได้รับการศึกษาแต่ไม่ได้รับใบรับรองการศึกษา หรือมีการ

               กำหนดให้คนไทยพลัดถิ่นเรียนได้ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่านั้นหรือในบางพื้นปฏิเสธในการให้เข้าเรียน

               หนังสือ
                       ด้านการประกอบอาชีพ คนไทยพลัดถิ่นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องเผชิญกับราคาพืชผลผลิตที่

               ไม่เป็นธรรม (ที่คนที่มีบัตรประจำตัวประชาชนขายได้ราคามากกว่าคนไทยพลัดถิ่น) และไม่ได้รับการช่วยเหลือ

               จากรัฐ เช่น การจำนำผลผลิตถูกหลอกลวงบ่อย  กรรมกรรับจ้างได้รับค่าแรงไม่เท่าเทียม  ได้งานที่คนสัญชาติ

               ไทยปฏิเสธไม่ทำ ถูกโกงค่าแรงแต่ไม่มีสิทธิต่อสู้คดี นอกจากนี้การที่มีการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าว คน

               ไทยพลัดถิ่นส่วนใหญ่ทราบถึงการขึ้นทะเบียนแต่ไม่ไปทำเนื่องจากเป็นการที่ต้องยอมรับว่าเป็นคนพม่า แต่

               บางส่วนที่ทำก็เพื่อให้มีสิทธิในการทำบัตรประกันสุขภาพ  แต่แลกกับการเสียสิทธิที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

               ที่สงวนไว้สำหรับคนสัญชาติไทยเท่านั้น
                       ด้านการเดินทาง พบว่าคนไทยพลัดถิ่นไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้ ต้องถูกจับกุม ควบคุมตัวและถูก

               ผลักดันออกนอกประเทศ (เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นคนพม่า) และเจ้าหน้าที่ไม่ติดต่อประสานงานกับกระทรวง

               มหาดไทยและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีความเข้าใจเรื่อง “คนไทยพลัดถิ่น” ว่าไม่ใช่

               คนต่างด้าว การออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องถูกจับกุมเนื่องจากไม่มีบัตรประจำตัว คนไทยพลัดถิ่น

               ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้ ทำให้มักถูกจับในข้อหา “ไม่พกพาใบอนุญาตขับขี่” ซึ่งการจำกัดการออกนอกพื้นที่ไม่
               สอดคล้องกับอาชีพที่ต้องเดินทางเป็นประจำ รวมถึงคนไทยพลัดถิ่นไม่รู้ระเบียบเกี่ยวกับการทำประกอบอาชีพ

               ที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การต้องมีใบอนุญาตทำงาน
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81