Page 34 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 34

27


                 สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.   ประชาชนหลักแรกเป็นเลข 8 (มีใบสำคัญประจำตัว

                 2555มาตรา 5                                  คนต่างด้าว)
                                                                 หรือมีชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร. 13 มีเลขประจำตัว

                                                              ประชาชนหลักแรกเป็นเลข 6 หรือเลข 7 (มีสูติบัตร)

                                                                 หรือมีชื่อในทะเบียนประวัติ ท.ร. 38 ก มีเลข
                                                              ประจำตัวประชาชนหลักแรกเป็นเลข 0

                                                              2. บุตรของคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มที่ 3 ที่ได้สัญชาติไทย
                                                              แล้วแต่ไม่ใช่การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม

                                                              พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

                                                              พ.ศ.2535 มาตรา 7 (1) ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกิดในหรือ
                                                              นอกประเทศไทย มีชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.14 มีเลข

                                                              ประจำตัวประชาชนหลักแรกเป็นเลข 8
                                                                   โดยบุคคลกลุ่มที่ 4 สามารถยื่นคำร้องต่อนาย

                                                              ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

                                                              เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนราษฎรให้
                                                              ถูกต้องตรงกับสถานะที่กฎหมายให้การรับรองไว้ได้

                                                              ทันทีตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป




               2.3 นโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับสถานะของคนไทยพลัดถิ่น
                        ในอดีตนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นนั้น ไม่มีการกล่าวถึงกลุ่มผู้พลัดถิ่นเชื้อสาย

               ไทยไว้โดยตรง ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยได้มีการจัดกลุ่มผู้พลัดถิ่นเชื้อสายไทยเป็น

               ชนกลุ่มน้อยประเภทหนึ่ง  ได้แก่กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยซึ่งส่วนใหญ่จะอพยพมาอยู่ในพื้นที่
                                     46
               จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และตาก และ กลุ่มผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ประเทศ


               46  คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติในประเทศไทย หมายความรวมถึงกลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 19 กลุ่ม และบุคคลที่ไม่มี

               สถานะทางทะเบียน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติอีก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษา
               กลุ่มคนไร้รากเหง้า ไม่ปรากฏบุพการีหรือถูกบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่วัยเยาว์ และกลุ่มคนที่ได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ โดยใน
               ส่วนของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย (1) เวียดนามอพยพ หรือญวนอพยพ (2) อดีตทหารจีนคณะชาติ (3) จีน
               ฮ่ออพยพพลเรือน (4) จีนฮ่ออิสระ (5) อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (6) ไทยลื้อ (7) ลาวอพยพ (8) เนปาลอพยพ (9) ผู้พลัด

               ถิ่นสัญชาติพม่า (10) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (11) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย เข้ามาก่อนวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.
               2519 (12) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย เข้ามาหลังวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519 (13) บุคคลบนพื้นที่สูง/ชาวเขา ที่อพยพ
               เข้ามาก่อนวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2528 (14) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจาก จ.เกาะกงกัมพูชา  (15) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศ

               กัมพูชา (16) บุคคลหรือชุมชนบนพื้นที่สูง ที่อพยพเข้ามาหลังวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2528 (17) ม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก (18)
               ลาวภูเขาอพยพ (19) ชาวมอร์แกน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39