Page 12 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 12

5


                              กลุ่มที่ 2 หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นทั้งระดับปฏิบัติและ

                              นโยบาย อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กรมการปกครอง

                              กระทรวงมหาดไทย และสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น

                              กลุ่มที่ 3 หน่วยงานภาคประชาสังคม/องค์กรพัฒนาเอกชนทำงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม
                              และคุ้มครองสิทธิของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่ศึกษา

                              กลุ่มที่ 4 กลุ่มนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสถานะบุคคล โดยเฉพาะประเด็นด้านคนไทย

                              พลัดถิ่น

                       4. จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง 2 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า

               15 คน เพื่อตรวจสอบข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
                       5. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประมวลผลข้อมูลตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อแสวงหาข้อค้นพบ

               ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และจัดทำข้อเสนอร่างรายงานผลการศึกษาวิจัย โดยมีข้อเสนอแนะมาตรการ

               หรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในเชิงรูปธรรม ตลอดจน

               แนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจของ

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                       6. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 ครั้ง เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความเข้าใจต่อ
               ผลการวิจัย และรับฟังความเห็นเพิ่มเติม/ข้อเสนอแนะ จากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงแก้ไข

               ข้อเสนอแนะ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมอย่างน้อย 30 คน



               1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                       ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และข้อท้าทายในการดำเนินการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัด

               ถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคน

               ไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 รวมถึงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ

               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น แนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ คำสั่งที่

               เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

               1.7 นิยามศัพท์

                       คนไร้รัฐ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่มีรัฐหรือประเทศใดๆ บันทึกข้อมูลบุคคลนั้นไว้เป็นประชากรของรัฐ

               หรือประเทศ ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนในระบบทะเบียนราษฎร

                       คนไร้สัญชาติ หมายถึง บุคคลไร้รัฐที่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบทะเบียนราษฎรและมีเอกสารแสดงตัวตน

                       คนไร้รากเหง้า หมายถึง คนไร้สัญชาติที่ไม่อาจจะพิสูจน์ทราบจุดเกาะเกี่ยวของตนกับรัฐได้ ซึ่งเป็น

               กลุ่มที่ไม่มีความทรงจำใดๆ เกี่ยวกับสถานที่เกิดหรือบิดามารดาเลย อาจเป็นกลุ่มคนที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17