Page 44 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 44
44 สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จัดท�าข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วย “การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน ระดับอ�าเภอและระดับต�าบล
ตามวาระจังหวัดน่าน “สร้างเมืองน่านน่าอยู่ คู่ป่าต้นน�้า” และมีการบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือการจัดการจัดท�าข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้การน�านโยบายสู่
การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
โดยข้อบัญญัติดังกล่าวมีสาระส�าคัญที่น่าสนใจอันถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้
เช่น
๑) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต�าบลอยู่ภายใต้
การก�ากับดูแลขององค์การบริหารส่วนต�าบล โดยมีคณะกรรมการระดับต�าบล
และระดับหมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
๒) การก�าหนดให้มีสมาชิกเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม โดยมีสิทธิและหน้าที่ร่วมก�าหนดแนวเขตป่าชุมชน แนวเขตพื้นที่
การใช้ประโยชน์ และพื้นที่จัดการอื่นในป่าชุมชน ร่วมกับหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง การร่วมบริหารจัดการ การจัดท�าแผนการจัดการ และกิจกรรม
ดูแลรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน การร่วมจัดท�า
และปรับปรุงกฎระเบียบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน
ร่วมกับคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน การมีสิทธิ
ขอใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านตาม
กฎระเบียบของหมู่บ้านและไม่ขัดข้องต่อกฎระเบียบและกฎหมาย การมีสิทธิ
ออกเสียงเลือกตั้งและถอดถอนคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน การตรวจสอบและ
ตรวจตราผู้ที่เข้ามากระท�าผิดกฎระเบียบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในพื้นที่หมู่บ้าน และตรวจสอบการด�าเนินงานของคณะกรรมการตามข้อบัญญัติ
๓) การก�าหนดให้มีกองทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อการสนับสนุนการด�าเนินงาน
และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต�าบลและ
ของคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน