Page 41 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 41
สิทธิชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 41
สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) มีกลไกจัดการความขัดแย้งที่มีต้นทุนต�่าและเข้าถึงได้ง่าย ทั้ง
“กลไกระหว่างสมาชิกซึ่งเป็นผู้ใช้ทรัพยากรด้วยกันเอง” และ “กลไกระหว่างผู้ใช้
ทรัพยากรกับเจ้าหน้าที่รัฐ” มีค�าแนะน�าเพิ่มเติมว่า ควรให้ความส�าคัญกับกลไก
การไกล่เกลี่ยและคลี่คลายข้อพิพาทในระดับพื้นที่ โดยเปิดโอกาสให้ราษฎรและ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดการปัญหาร่วมกัน
ให้ถึงที่สุดก่อน ส่วนวิธีการทางกฎหมายควรถูกน�ามาใช้เป็นวิธีการสุดท้าย
๗) รัฐให้การยอมรับในสิทธิของชุมชน โดยรัฐจะต้องรับรู้และให้สิทธิ
แก่ผู้ใช้ทรัพยากรในการวางกติกาการใช้และการจัดการทรัพยากร ขณะเดียวกัน
ผู้ใช้ทรัพยากรจะมีสิทธิก�าหนดกติกาในกลุ่มของตนเองโดยไม่ถูกแทรกแซง
จากอ�านาจรัฐภายนอก และผู้ใช้ทรัพยากรสามารถด�าเนินการบังคับใช้กติกา
และลงโทษผู้ฝ่าฝืนกติกาด้วยตัวของชุมชนเอง
๘) กติกาและการจัดการทรัพยากร การใช้ทรัพยากร การจัดสรร
ทรัพยากร การสอดส่องดูแล การบังคับใช้ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และ
การด�าเนินการของภาครัฐ ที่ยึดโยงกับระบบที่ใหญ่กว่า
๔. ก�าหนดให้มี “องค์กร/สภาคู่ขนาน” ของชุมชนเกี่ยว
กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองภายใต้เงื่อนไขตาม
กฎหมาย เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังและติดตามการบริหารจัดการของรัฐ
การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปกป้องชุมชนเอง
เนื่องจากชุมชนไม่มีอ�านาจรัฐ
๕. ก�าหนดให้มี “การส่งเสริมชุมชนและสิทธิชุมชน” โดยมีมาตรการ/
เครื่องมือ/กลไกในการช่วยเหลือชุมชนที่ไม่แข็งแรงหรือเข้าถึงข้อมูลได้ยาก
เพื่อให้สามารถใช้สิทธิชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ