Page 45 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 45

สิทธิชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ   45
                                                       สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง


               บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการสนับสนุน/
               ส่งเสริมสิทธิของบุคคลและชุมชน      ๑



                   บทบาทหน้าที่และอ�านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ปรากฏ
             ตามมาตรา ๒๔๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และตามมาตรา
             ๒๖ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
             สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งก�าหนดหน้าที่และอ�านาจของคณะกรรมการ

             สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้หลายประการ โดยในส่วนของการคุ้มครองสิทธิชุมชนในการ
             จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น กสม. มีบทบาทตามกฎหมายดังกล่าว
             และตามหลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองและ
             ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (หลักการปารีส) ดังนี้


             ๑. บทบาททางด้านนิติบัญญัติ
                   (๑) การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชน
             ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงาน
             ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม

             กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และรวมถึงเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ
             ระเบียบ หรือค�าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชน
             อันเป็นไปตามมาตรา ๒๔๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
             ประกอบมาตรา ๒๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
             สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง
             สิทธิชุมชนกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐธรรมนูญ
             ก�าหนดให้ชุมชนเป็นผู้ทรงสิทธิ รวมถึงการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตเงื่อนไข

             ของชุมชนผู้ทรงสิทธิ และแนวทางในการคุ้มครองสิทธิชุมชนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
             โดยบูรณาการในทุกภาคส่วนของรัฐ เพื่อน�าไปสู่การน�าไปปฏิบัติคุ้มครองสิทธิที่เป็นรูปธรรม
             มากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดความเสี่ยงในความรับผิดตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่
             คุ้มครองสิทธิชุมชนอย่างน้อยที่สุด โดยมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ อาทิ ข้อเสนอแนะมาตรการ
             หรือแนวทางและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเขตป่าสงวนแห่งชาติ
             และเขตอุทยานแห่งชาติกับที่ดินเอกชนทับซ้อนกัน ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
             และข้อเสนอแนะนโยบายการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานของประเทศไทย



             ๑   ปรับปรุงเนื้อหาจาก คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (๒๕๖๑). แนวปฏิบัติในการรับรองสิทธิชุมชนที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรธรรมชาติ
             และสิ่งแวดล้อม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเพิ่มเติมผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องของ กสม.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50