Page 40 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 40

40   สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ







                 เมื่อชุมชนถูกละเมิดสิทธิ  โดยมีขั้นตอนต้นทางก่อนจะไปถึงศาล  เช่น
                 กระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการไกล่เกลี่ย เป็นต้น รวมถึงการจัดให้มี
                 การคุ้มครองและปกป้องสิทธิชุมชนโดยอาศัยอ�านาจของรัฐหรือองค์กรปกครอง
                 ส่วนท้องถิ่น เพื่อก�าหนดข้อห้ามส�าหรับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์

                 จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน


                      ๓.  ควรน�าหลักเกณฑ์การจัดการร่วม ๘ ข้อของเอลินอร์ ออสตรอม
                 (Elinor Ostrom) มาใช้เป็นแนวทางในการก�าหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

                 การใช้สิทธิชุมชน ดังนี้
                          ๑)  การระบุขอบเขตที่ชัดเจน ทั้ง “ขอบเขตเกี่ยวกับผู้ใช้” ซึ่งสามารถ
                 แยกแยะได้ว่าใครมีสิทธิและไม่มีสิทธิเข้าใช้ทรัพยากร และ “ขอบเขต
                 ของทรัพยากร” ซึ่งแยกแยะระหว่างขอบเขตของทรัพยากรที่ชุมชนดูแลกับ

                 ระบบนิเวศเชิงสังคมที่ใหญ่กว่า
                          ๒)  กติกาในการจัดการทรัพยากรจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม
                 และเงื่อนไขของพื้นที่ เช่น การก�าหนดช่วงเวลาในการใช้ทรัพยากรที่สัมพันธ์
                 กับฤดูกาลและวงจรชีวิตในระบบนิเวศ เป็นต้น

                          ๓)  ผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากรสามารถมีส่วนร่วมในการ
                 ก�าหนดกติกาในการจัดการทรัพยากร
                          ๔)  มีการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้มีส่วนได้เสีย
                 ในการใช้ทรัพยากร  ทั้ง  “การติดตามดูแลพฤติกรรมการใช้ประโยชน์

                 จากทรัพยากร” และ “สภาพของทรัพยากร”
                          ๕)  มีการลงโทษผู้ละเมิดกฎกติกาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากเบาไป
                 หาหนัก
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45