Page 42 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 42
42 สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กรณีตัวอย่างการออกแนวปฏิบัติในระดับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๔๓ วรรคสอง บัญญัติ
สิทธิของบุคคลและชุมชนที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการด�าเนินการ
จัดการ บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความ
หลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
ในทางปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจด�าเนินการโดยการออก
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งมีกรณีศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติที่น่าสนใจ อาทิ
กรณีต�าบลแม่ทา อ�าเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการออก
“ข้อบัญญัติต�าบลแม่ทา เรื่องการจัดการป่าชุมชนต�าบลแม่ทา พ.ศ. ๒๕๕๐”
เพื่อเป็นเครื่องมือของชุมชนในการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน
กรณีต�าบลแม่ทา ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกข้อบัญญัติเกี่ยวกับ
การจัดการทรัพยากร เพราะการออกข้อบัญญัติต�าบลนี้ให้ความส�าคัญกับการ
มีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ตลอดทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นระดมแนวคิดเริ่มต้น
การให้สมาชิก อบต. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดประชุม
ระดมความคิดเห็นและความต้องการขององค์กรชาวบ้าน เพื่อรวบรวมข้อมูล
และยกร่างข้อบัญญัติต�าบลว่าด้วยการจัดการป่าชุมชน เมื่อได้ร่างข้อบัญญัติ
ต�าบลแล้วก็มีการน�าร่างข้อบัญญัติต�าบลไปจัดท�าเวทีประชาพิจารณ์ รับฟัง
ความคิดเห็นร่วมกับองค์กรชาวบ้าน เพื่อน�าไปปรับปรุงแก้ไขร่างข้อบัญญัติต�าบล
ตามมติส่วนใหญ่ของเวทีประชาพิจารณ์ ก่อนจะน�าไปผ่านขั้นตอนทางกฎหมาย
เพื่อออกเป็นข้อบัญญัติต�าบลแม่ทา เรื่องการจัดการป่าชุมชน และน�าไป
ติดประกาศให้ประชาชนรับทราบ