Page 34 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 34

34   สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ




                   การจัดการทรัพยากรทางทะเล  มีการตราพระราชก�าหนดการประมง

             พ.ศ. ๒๕๕๘ ก�าหนดให้ผู้แทนสมาคมในด้านการประมงประเภทต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนร่วม
             ในการเป็นคณะกรรมการทั้งในระดับชาติ  และระดับจังหวัด  รวมถึงก�าหนดให้
             กรมประมงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดท�านโยบาย
             การพัฒนาการประมงในน่านน�้าไทย สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการมี

             ส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการการบ�ารุงรักษา การอนุรักษ์
             การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น�้าภายในที่จับสัตว์น�้า
             ในเขตประมงน�้าจืดหรือเขตทะเลชายฝั่ง



                   อย่างไรก็ดี  ปัจจุบันยังปรากฏข้อขัดแย้งการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะ
             ทางทะเล เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านกับผู้ประกอบการเลี้ยงหอย
                                                                                   ๒๐
             ในพื้นที่ “อ่าวบ้านดอน” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว
             และยังมีข้อพิพาทท�านองเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น “อ่าวปัตตานี”

             เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเด็นสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรทางทะเล
             เป็นประเด็นที่จะต้องพัฒนากฎหมายและนโยบาย  รวมถึงการสร้างความรู้
             ความเข้าใจกันต่อไป



                   การจัดการทรัพยากรแร่ กสม. รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเหมืองแร่ และ
             มีรายงานผลการตรวจสอบส�าคัญหลายเรื่อง อาทิ กรณีคัดค้านค�าขอประทานบัตร
             เหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ต�าบลควนโพธิ์ อ�าเภอ
                                  ๒๑
             เมืองสตูล จังหวัดสตูล  และกรณีโครงการส�ารวจแร่โพแทช อ�าเภอวานรนิวาส
                           ๒๒
             จังหวัดสกลนคร

                   นอกจากนี้ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ...
             หลายประการ  ซึ่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ปรับแก้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะ
                         ๒๓
             ของ กสม. ไปแล้วบางประเด็น โดยเปิดช่องให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ การก�าหนด
             ให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม
             ของชุมชนในการบริหารจัดการแร่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดท�า

             ๒๐  รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ ๑๒๐/๒๕๖๑ ของ กสม.
             ๒๑  รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ ๓๒๘/๒๕๖๑ ของ กสม.
             ๒๒  รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ ๑๑-๑๒/๒๕๖๒ ของ กสม.
             ๒๓  รายงานผลการพิจารณาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ ๓๖-๓๙/๒๕๕๙ ของ กสม.
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39