Page 31 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 31
สิทธิชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 31
สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา รัฐได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นสิทธิ
ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายฉบับและเกี่ยวพันกับ
หลายประเด็น ซึ่งกฎหมายเหล่านี้เป็นพัฒนาการทั้งเชิงบวกและลบต่อสิทธิชุมชน
โดยขอน�าเสนอตัวอย่างในบางประเด็น ดังนี้
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
แม้จะเป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้ว แต่ก็เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่น�าไปสู่
การปฏิรูปเชิงระบบ และยังมีเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๕๗
ของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ยังไม่มีบทบัญญัติรองรับเรื่องการให้ประชาชนและชุมชน
ในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ คุ้มครองบ�ารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ
และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลาย
ทางชีวภาพ และได้รับประโยชน์จากการด�าเนินการดังกล่าว
การจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ถือเป็นความขัดแย้งเรื้อรังมานาน
หลายทศวรรษ ระหว่างชาวบ้านที่อาศัยและท�าประโยชน์ในพื้นที่กับรัฐที่ต้องการ
ควบคุมและจัดการป่าเพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยในปี
๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ รัฐพยายามแก้ไขความขัดแย้งดังกล่าว โดยออกมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เรื่อง พื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหา
การอยู่อาศัยและท�ากินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาที่ดินทั้งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมารัฐได้ตรากฎหมาย
เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและป่าไม้หลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
นโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ รวมทั้ง
ตราพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และพระราชบัญญัติสงวน
และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและท�าประโยชน์ใน
ที่ดินในเขตป่าอนุรักษ์