Page 32 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 32

32   สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ




                   อย่างไรก็ดี  จากรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน

             ของประเทศไทยปี ๒๕๖๒ ของ กสม. ระบุว่า ยังมีประชาชนอีกจ�านวนมากที่
             ประสบปัญหาที่ดินท�ากินและได้รับความเดือดร้อนจากการถูกจับกุมและขับไล่ออก
                            ๑๕
             จากที่ดินเดิมอยู่  นอกจากนี้ ภาคประชาชนบางส่วนได้วิจารณ์กฎหมายเหล่านี้
             ว่า  ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  เพราะใช้แนวคิดการควบคุม

             ทรัพยากรโดยรัฐ และไม่ยอมรับสิทธิชุมชน
                                                  ๑๖

                   ส่วนกฏหมายป่าชุมชนไม่อนุญาตให้ขอจัดตั้ง “ป่าชุมชน” ในเขตป่าอนุรักษ์
             ท�าให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งไม่สามารถจัดตั้งป่าชุมชนได้ หรือชุมชน

             หลายแห่งที่มีการจัดการป่าชุมชนอยู่แล้ว ไม่สามารถขอรับรองทางกฎหมายได้ อาทิ
             กรณีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (ปกาเกอญอ) บ้านกลาง ต�าบลบ้านดง อ�าเภอแม่เมาะ
             จังหวัดล�าปาง ที่ดูแลผืนป่ากว่า ๑๐,๐๐๐ ไร่ แต่ไม่สามารถเข้าเงื่อนไขการจัดตั้ง
             ป่าชุมชนได้ เนื่องจากอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ๑๗



                   เขตเศรษฐกิจพิเศษ  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษ
             ภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกให้เป็นระบบ โดยเฉพาะ
             การส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี มีประชาชน

             ในพื้นที่บางกลุ่มและนักวิชาการที่คัดค้านการด�าเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะ
             เรื่องการประกาศใช้ผังเมืองในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
             (EEC Watch) ที่ยกเลิกผังเมืองเดิม ที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
             และเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรม (สีเขียว) เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม (สีม่วง) ซึ่งถือเป็น

             การท�าลายหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และเอื้อประโยชน์
             ให้กับคนเพียงบางกลุ่ม ๑๘








             ๑๕  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๒ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน้า ๑๕๗ - ๑๕๘
             ๑๖  การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทางเลือก ทางออก พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒” วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม
             ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ
             ๑๗  รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานเผยแพร่และขับเคลื่อนงานวิจัยสิทธิมนุษยชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ในพื้นที่ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)
             (วันที่ ๖ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓) โดยกลุ่มงานวิจัยสิทธิมนุษยชน ส�านักกิจการ กสม. ส�านักงาน กสม
             ๑๘  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๒ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน้า ๑๖๐ - ๑๖๑
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37