Page 33 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 33
สิทธิชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 33
สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร
จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งก�าหนดให้มีผู้แทนชุมชน
ชายฝั่ง เข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด
และให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการมี
ส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแสดงความคิดเห็น
เพื่อประกอบการพิจารณาจัดท�านโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่งระดับชาติและจังหวัดด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังพบข้อพิพาท
เรื่องการจัดการชายฝั่ง โดยเฉพาะประเด็นมุมมองต่อวิธีการจัดการปัญหาการกัดเซาะ
ชายฝั่งที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ข้อพิพาทดังกล่าวสะท้อน
ผ่านกรณีการด�าเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์
ต�าบลม่วงงาม อ�าเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
โดยกลุ่มประชาชนมองว่าการด�าเนินโครงการมีความบกพร่องในกระบวนการมีส่วนร่วม
และก�าแพงกันคลื่นโครงสร้างแข็งจะส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น
ปัจจุบัน กรณีนี้อยู่ระหว่างการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ๑๙
ปัจำจำุบันยังพบข้อพิพาทเรื่องการจำัดการชายฝั่ง
โดยเฉพาะประเด็นมุมมองต่อวิธีการจำัดการปัญหา
การกัดเซาะชายฝั่งที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐ
กับภาคประชาชน ข้อพิพาทดังกล่าวสะท้อนผ่านกรณี
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อม
ปรับปรุงภูมิทัศน์ ต�บลม่วงงาม อ�เภอสิงหนคร
จำังหวัดสงขลา
๑๙ รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานเผยแพร่และขับเคลื่อนงานวิจัยสิทธิมนุษยชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (จังหวัดสงขลา
และปัตตานี) (วันที่ ๓๐ – ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓) โดยกลุ่มงานวิจัยสิทธิมนุษยชน ส�านักกิจการ กสม. ส�านักงาน กสม. และ www.hatyaitoday.com/
beach-re-structural-impact/