Page 61 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 61
บทที่ 1
บทนำ
1.1 หลักการและเหตุผล
หลักการสิทธิมนุษยชน
เอกสารขององค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ อาทิ (1) European Network of
National Human Rights Institutions ให้ความเห็นไว้ว่า ขั้นตอนแรกในการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่า
ด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน คือ การจัดทำการศึกษาข้อมูลฐานและการวิเคราะห์ช่องว่าง (national baseline
study and gap analysis) ระหว่างกลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศที่มีอยู่กับข้อกำหนดในหลักการ
ชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือ
หลักการ UNGP เพื่อสร้างฐานที่น่าเชื่อถือและโปร่งใส วางหมุดหมาย (milestones) เชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน
การศึกษาข้อมูลนี้ควรระบุอย่างชัดเจนว่า กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศเพียงพอต่อข้อกำหนดใน
UNGP หรือไม่อย่างไร มีช่องว่างในประเด็นใดบ้าง มีมาตรการใดที่ยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังควร
เน้นไปที่กลุ่มประชากรที่เปราะบางและถูกกีดกันมากที่สุด ตระหนักในปัจเจกบุคคลและชุมชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจว่าเป็นผู้มีสิทธิ และเป็นผลลัพธ์จากการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ
อย่างทั่วถึงรอบด้าน (สฤณี, 2559) หรือ (2) เอกสาร Business and Human Rights A Guidebook for
National Human Rights Institutions โด ย International Coordinating Committee of National
Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights: ICC ได้กล่าวถึงการจัดทำฐานข้อมูล
พื้นฐานระดับชาติภายใต้หลักการ UNGP ว่า เป็นพื้นฐานในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและ
สิทธิมนุษยชนของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พัฒนาข้อมูลพื้นฐาน (baseline studies) เพื่อเสนอรัฐบาล
ในการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติต่อไป (ICC,2013)
แนวทางในการจัดทำการประเมินข้อมูลพื้นฐานฯ ที่สำคัญคือ “การระบุเนื้อหาของการดำเนินการตาม
หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ หรือ UN Guiding Principles on Business and Human
Rights: Implementing the United Nation ‘protect, Respect and Remedy’ Framework (UNGP)
และช่องว่างที่เกิดขึ้นตามหลักการ UNGP ภายใต้เสาหลักที่ 1 (Protect) และเสาหลักที่ 3 (Remedy) ”
1
2
1 การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) หมายถึง รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครอง มิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ
การดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจากองค์กรของรัฐเอง หรือองค์กรภาคธุรกิจ
2 การแก้ไข ฟื้นฟู ชดเชยเมื่อเกิดผลกระทบหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะมีการ
ป้องกันแล้วหรือไม่ก็ตาม ภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีกลไกในการเยียวยาที่มีประสิทธิผล โดยรัฐมีหน้าที่ที่จะประกันว่า ผู้
ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงกลไกเยียวยาได้ ทั้งกลไกในกระบวนการยุติธรรมหรือกลไกอื่น ๆ เช่น การไกล่เกลี่ย การ
เจรจาต่อรอง นอกเหนือจากกลไกตามกระบวนการยุติธรรม
1