Page 184 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 184
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรการ และ
หลักการสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ และควรให้ความร่วมมือกับภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศ
ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเปิดเผยข้อมูลตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีและเพิ่มเติมใน
ประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐในฐานะเจ้าของซึ่งควรเปิดเผยต่อสาธารณชน ได้แก่ นโยบายความเป็นเจ้าของ
ภาระหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจในการบริการสาธารณะ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐแก่รัฐวิสาหกิจ
หรือภาระผูกพันที่กระทําในนามของรัฐวิสาหกิจ
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจ โดย
เฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนหรือรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ เปิดเผยข้อมูลทางการเงินและที่ไม่ใช่ข้อมูลการเงิน
ตามมาตรฐานสากล จัดทํางบการเงินตามมาตรฐานบัญชีเดียวกับบริษัทจดทะเบียน และมีผู้สอบบัญชีภายนอก
ที่เป็นอิสระเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานสากล
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจควรสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจมีกลไกหารือเพื่อจัดการกับ
ปัญหาการละเมิดสิทธิ รวมถึงควรจัดให้มีช่องทางรับเรื่องราวร้องเรียนและผู้ประสานงานที่ชัดเจน ตลอดจน
การระงับข้อพิพาทก่อนที่จะนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
- รัฐวิสาหกิจควรกำหนดเป็น KPI ขององค์กรว่าต้องมีการคุ้มครองสิทธิ และให้มีการจัดทํา HRDD ใน
ส่วนขององค์กรตนและที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมถึงภาคธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานที่ถูกจัดจ้างด้วย โดยร่วมมือกับ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจัดทำนโยบายด้านสังคมและ
สิ่งแวดล้อมที่เน้นการสร้างจิตสํานึก การมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ขององค์กร การเยี่ยมชม (Site visit) อีกทั้ง
ประมวลกิจกรรมด้าน CSR ทั้งหมด ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์และการแปลงสู่การปฏิบัติ และการติดตาม
ประเมินผลการดําเนินการด้าน CSR
- รัฐวิสาหกิจไม่ควรได้รับการยกเว้นจากข้อกําหนด หรือกฎหมายที่บังคับใช้ในอุตสาหกรรม คู่แข่งขัน
รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าหนี้ควรจะสามารถเรียกร้องการชดเชยได้หากถูกละเมิดสิทธิ ตลอดจนการเข้าถึง
แหล่งเงินของรัฐวิสาหกิจควรเป็นไปตามเงื่อนไขตลาดปกติไม่ควรมีความได้เปรียบกว่าภาคเอกชนเพื่อให้เกิด
การแข่งขันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจและผู้ประกอบการเอกชน
- เพื่อเอื้อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม รัฐวิสาหกิจจากเดิม ซึ่งเป็นทั้งผู้ประกอบการ (Operator)
และผู้กํากับดูแล (Regulator) ควรเป็นเพียงผู้ประกอบการอย่างเดียว ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจร่วมกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าศึกษาควรจัดตั้งองค์กรกํากับดูแล (หรือ Regulatory
Bodies) ซึ่งจะมีหน้าที่หลักคือการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการทุกราย และกําหนด
อัตราค่ าบ ริการที่ เป็ น ธรรมต่ อผู้บ ริโภ ค ซึ่งห ากส ามารถดําเนิ น กา ร ได้สำเร็จ อาจจ ะ
124