Page 132 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 132
3.3.2 สิทธิผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้น หรือ ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจร่วมควรที่จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน
ตามกฎหมาย ซึ่งรวมไปถึงการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
สิทธิของผู้ถือหุ้นในกรณีของธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะถูกควบคุมและดูแลโดยสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม
พัฒนา และกำกับดูแลตลาดทุนเพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในตลาดทุน
ผลการดำเนินงานในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (ตารางที่ 3-5) พบว่า ก.ล.ต. ได้มีการพิจารณากล่าวโทษผู้ที่ทำ
ผิดกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 78-94 เรื่องต่อปี ซึ่งความผิดจะอยู่ใน 4 กลุ่มที่
สำคัญ คือ การไม่ได้จัดทำงบการเงินตามกำหนด การปกปิด/บิดเบือนข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจ การ
ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน หรือทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต และ การ
ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพราง (ปั่นหุ้น) กรณีความผิดบริหาร เกิดขึ้นประมาณ 16-24 เรื่องต่อปี ใน 3 ฐาน
ความผิดสำคัญ คือ การกระทำมิชอบต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน การตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน การ
แสวงหาประโยชน์จากผู้ลงทุนโดยอาศัยโอกาสในการปฏิบัติงาน กรณีความผิดปกครอง เกิดขึ้นประมาณ 0-3
เรื่องต่อปี เป็นความผิดที่เกิดขึ้นกับตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับการอนุญาตเป็นตัวแทนจาก
ก.ล.ต. กระทำหน้าที่บกพร่องตามหลักเกณฑ์จนเป็นเหตุให้ถูกพัก ระงับ หรือเพิกถอนใบอนุญาต ความผิดกรณี
แพ่ง มีจำนวนคดีที่เกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยใน 3 ปีล่าสุดมีจำนวนคดีที่ 0 คดี 27 คดีและ 86 คดีตามลำดับ
จะเห็นได้ว่า ก.ล.ต. มีความสามารถในการตรวจสอบคดีแพ่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นคดีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้ถือ
หุ้นผ่านการใช้ข้อมูลภายในในการแสวงหาประโยชน์ และการปั่นหุ้น กรณีสุดท้ายจะเป็นกรณีเทียบปรับ ซึ่ง
เป็นค่าปรับในกรณีที่มีการส่งงบการเงินไม่ทันตามกำหนด พบว่ามีทิศทางที่ลดลงใน 3 ปีล่าสุด โดยในปี พ.ศ.
2559-2560 จะมีจำนวนคดีอยู่ที่ 131 คดี และ 156 คดีตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2561 จำนวนคดีลดลงเหลือ
เพียง 50 คดีเท่านั้น
หากเปรียบเทียบทิศทางแนวโน้มของจำนวนคดีทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคดีแพ่งจะยังคงเป็นปัญหาที่มี
ความสำคัญในระดับที่สูง ทั้งในส่วนที่ใช้ข้อมูลภายในในการแสวงหาประโยชน์ และปัญหาการปั่นหุ้น ในขณะที่
การส่งงบการเงินล่าช้า มีปัญหาที่น้อยลง และปัญหาการปกปิด/บิดเบือนข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจ
ยังคงเป็นปัญหาที่ยังคงมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ
หากพิจารณาเปรียบเทียบกับจำนวนหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น
2,406 หลักทรัพย์ จะพบว่าความสามารถในการกำกับดูแลหลักทรัพย์อยู่ในระดับปานกลาง โดยอาศัยการ
ตีความจากระดับการพิจารณาลงโทษมีทั้งสิ้น 770 กรณี คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 32 ของจำนวน
หลักทรัพย์ทั้งหมดต่อปี (ทั้งนี้ ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ จำนวนคดีที่มีการลงโทษของหลักทรัพย์ 1 หลักทรัพย์
โดยมากจะมีแนวโน้มที่จะมีมากกว่า 1 คดี เนื่องจากเป็นการฟ้องบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมดรายบุคคล
72