Page 129 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 129

รายประเด็นของ กสม. ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บสถิติที่เกี่ยวข้องเฉพาะในประเด็นทางด้านธุรกิจและสิทธิ

               มนุษยชนอาจจะมีความยากลำบาก รวมทั้งการพิจารณาในข้อร้องเรียนอาจจะต้องการผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านนี้
               โดยเฉพาะมาช่วยพิจารณา


                       เมื่อพิจารณาในมิติของความครอบคลุมในแต่ละประเด็นที่มีการร้องเรียน (ตารางที่ 3-4) จะพบว่า

                       1.   สิทธิแรงงาน/แรงงานต่างด้าว จะมีการพิจารณาในประเด็นการละเมิดในสวัสดิการ การละเมิดขอ

               ตรวจ HIV การร้องขอสิทธิเพิ่มเติม และการล่วงละเมิดแรงงาน โดยคณะผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่าข้อร้องเรียนจาก
               แรงงานต่างด้าวมีเพียง 2 จาก 36 ข้อร้องเรียนเท่านั้น


                       2.   สิทธิของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน จะมีการพิจารณาในประเด็นของเกษตรพันธสัญญาและกรณี
               พิพาทระหว่างธุรกิจ ซึ่งจากสถิติข้อร้องเรียน พบว่าปัญหาเกษตรพันธสัญญาซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในอดีต มี

               เรื่องร้องเรียนเพียง 1 กรณีเท่านั้น

                       3.   สิทธิในชุมชนและสิ่งแวดล้อม มีประเด็นข้อร้องเรียนโดยสรุปคือ การวางแผนจัดการชุมชนที่

               เหมาะสม (แผงลอยและผังเมือง) กระบวนการมีส่วนร่วม และการทำ EIA/EHIA ไม่โปร่งใส ธุรกิจส่งผลกระทบ

               ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม การขาดกลไกการเยียวยาที่เหมาะสม ธุรกิจละเมิดดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย และ
               ข้อเสนอกับภาครัฐ แต่หากพิจารณาในแง่ของจำนวนข้อร้องเรียนจะพบว่าข้อร้องเรียนที่มีจำนวนมากในหมวด

               นี้ คือ ปัญหาธุรกิจส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

                       4.   สิทธิในที่ดิน มีประเด็นที่สำคัญ คือ ข้อพิพาทในการเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปให้เอกชนใช้ กลไกการ

               เยียวยา (หาที่อยู่ใหม่และค่าเวนคืนที่เหมาะสม) ปัญหาการรุกล้ำที่ดินของเอกชน และสิทธิทางวัฒนธรรม
               อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าการพิจารณาเรื่องสิทธิในที่ดิน อาจจะต้องมีการพิจารณาในเรื่องของสิทธิ

               ในการพัฒนาเข้าไปด้วย เพื่อให้มุมมองมีความสมดุลย์กันต่อทั้งสองฝ่าย

                       5.   สิทธิที่เกี่ยวกับการลงทุนข้ามชาติ แม้ว่าจะไม่พบจำนวนข้อเรียกร้องที่ถูกพิจารณาแล้วเสร็จ แต่

                                                        50
               จากการสืบค้นข้อมูลขององค์กร ASEAN Watch  พบว่า กสม. ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นของการ
               ลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศรวม 2 กรณี ได้แก่ กรณีโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

               ที่ประเทศเมียนมา และ โครงการปลูกอ้อยที่ประเทศกัมพูชา

                       6.   สิทธิผู้บริโภค พบว่าประเด็นที่มีการร้องเรียน คือ สินค้าและบริการไม่มีคุณภาพ มีการเลือกปฏิบัติ

               ในการให้บริการ และเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย








               50  รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู การลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: ชุมชน สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน,
               http://aseanwatch.org/2017/10/13/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%

               B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B
               8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8
               %99/
                                                            69
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134