Page 124 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 124

บทที่ 3
                                                                                        สถานการณ์ในประเทศไทย


                       ในด้านวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่ชาวเลยึดถือที่ดินและทะเลเป็นทรัพย์สินที่ทุกคนใช้ร่วมกัน ชาวเลส่วนใหญ่

                                                                16
               จึงไม่มีสิทธิที่มั่นคงในที่อยู่อาศัย เพราะขาดเอกสารสิทธิที่ดิน  พื้นที่บางพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของชาวเล
               อย่างพื้นที่สุสานและพื้นที่ทางจิตวิญญาณ โดยชาวเลมีพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น พิธีลอยเรือ การไหว้บูชาหลา

               หรือโต๊ะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีนอนหาด และงานกินข้าวกลางบ้าน เป็นต้น ท าให้ชาวเลต้องมีพื้นที่ในการท า

               พิธีกรรมทางจิตวิญญาณ  อย่างไรก็ตาม เมื่อมีนโยบายการท่องเที่ยว ท าให้เกิดการรุกรานที่ดินสุสานและ
               พื้นที่ที่ชาวเลใช้ในการประกอบกิจกรรมทางจิตวิญญาณ หรือการเข้าใช้พื้นที่ไม่สะดวก อันเกิดจากการประกาศ

               เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เช่น พิธีนอนหาดของชาวเลอุรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต จัดที่หาดไม้ขาว ต าบลไม้ขาว
               อ าเภอถลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติสิรินาถ เป็นต้น


                       แม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล
               ซึ่งก าหนดแนวทางของรัฐในการด าเนินการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวเลครอบคลุมในเรื่องการสร้างความมั่นคง

               ด้านที่อยู่อาศัยด้วยการท าเป็นโฉนดชุมชนเพื่อเป็นเขตสังคมและวัฒนธรรมพิเศษส าหรับชาวเล และผ่อนปรน
               พิเศษส าหรับกลุ่มชาวเลในการท าประมงที่ใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมตามวิถีชีวิตในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขต

               อนุรักษ์อื่นๆ  อย่างไรก็ตาม นโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่มีผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด

                       3.2.2.2 สภาพปัญหาในปัจจุบัน


                       จากการศึกษาสภาพปัญหาอันเกิดจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถนั้นไปกระทบต่อวิถีชีวิต
               และสิทธิทางวัฒนธรรมของชาวเลใน 3 ลักษณะ ดังนี้


                       (1) การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเล เนื่องจากวิถีชีวิต
                          ชาวเลผูกพันและสอดคล้องอยู่กับทะเลและพื้นที่ใกล้กับทะเล ท าให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของ

                          ชาวเลเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สามารถท าประมงเพื่อยังชีพในพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้ ไม่สามารถ

                          ใช้พื้นที่ท าพิธีกรรมตามความเชื่อของตนได้ เป็นต้น
                       (2) นอกจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว วิถีชีวิตของชาวเลยังได้รับผลกระทบเนื่องจาก

                          นโยบายการท่องเที่ยวที่สร้างการพัฒนาอย่างไม่สมดุล
                       (3) มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ในทาง

                          ปฏิบัติไม่ได้ถูกน ามาใช้โดยหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ยังคง
                          ด าเนินการจับกุมชาวเลที่เข้าไปท าประมงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่















               16   ปรีดา คงแป้น, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ X, น.18.



               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      3-13
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129