Page 120 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 120
บทที่ 3
สถานการณ์ในประเทศไทย
9. ในวันที่ 15 มิถุนายน 2553 ประชุมคณะกรรมการอ านวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูป
ที่ดินแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2553 ณ ตึกบัญชาการ 5 ท าเนียบรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน ที่ประชุมได้พิจารณากรณีพิพาทสวนป่าคอนสาร และมีมติที่ประชุมดังนี้
– ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินท ากินและที่อยู่
อาศัยให้แก่ราษฎรผู้ได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับการพิสูจน์สิทธิ
ของคณะกรรมการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) โดยมอบหมายให้รัฐมนตรี
ประจ าส านักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอนุกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์เป็นรองประธานอนุกรรมการ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชน ร่วม
เป็นอนุกรรมการ
– ส าหรับการพิสูจน์สิทธิที่มีอยู่ให้ด าเนินการตามกระบวนการต่อไป
10. ในวันที่ 9 มีนาคม 2554 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อ
ด าเนินงานโฉนดชุมชนตามระเรียบส านักนายรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ขึ้นที่ท าเนียบ
รัฐบาลระหว่างส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร
11. ในวันที่ 10 มีนาคม 2554 คณะท างานส ารวจตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และการประชุมคณะท างานส ารวจตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 สรุปได้ว่าชุมชนมีความพร้อมและพื้นที่เหมาะสมให้
ด าเนินการโฉนดชุมชน และเสนอเรื่องให้คณะอนุกรรมการส ารวจตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชน
พิจารณาน าเสนอคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนอนุมัติออกโฉนดชุมชน และได้รับความ
คุ้มครองตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 และให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงานเพื่อด าเนินงานโฉนดชุมชนตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน
พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2554
กล่าวโดยสรุป ทั้งแนวทางที่ชาวบ้านเรียกร้องและความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐทั้งหลายข้างต้น
ล้วนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และน าที่ดินมาจัดสรรให้กับประชาชนในรูปของ
โฉนดชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้อยู่อาศัยท ากินต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยามด าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องสวนป่าคอนสารมาโดย
ตลอดและความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า ให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และน าพื้นที่มาปฏิรูปที่ดินให้กับราษฎร
ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงไม่ได้มีการปฏิบัติตามนโยบายที่เกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในทางตรงกันข้าม ออป. กลับ
ด าเนินคดีโดยฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดภูเขียวให้ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่สวนป่าคอนสาร ซึ่งศาลฎีกาได้มี
ค าพิพากษาในปี พ.ศ. 2559 ให้ชาวบ้านจะต้องออกจากพื้นที่เนื่องจากไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินตาม
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 3-9