Page 123 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 123
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3.2.2 พื้นที่วัฒนธรรม
3.2.2.1 ภาพรวมของสถานการณ์
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็นชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของชายฝั่งทะเลอันดามันที่มีวิถีชีวิตอาศัยหากินผูกพัน
อยู่กับชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยสันนิษฐานว่าได้เข้ามาอยู่อาศัยตั้งบ้านเรือนถาวรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา
13
300 ปีมาแล้ว จากการศึกษาของ เมธิรา ไกรนที พบว่าชาวเลอุรักลาโว้ยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่แหลมกลาง
12
(เกาะร้าง) และแหลมตุ๊กแก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีคนจีนน าเรือเข้ามาเทียบสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนสิ่งของ
กับชาวจีน ซึ่งต่อมาเกิดการระบาดของอหิวาห์ตกโรคเป็นเหตุให้ชาวเลอุรักลาโว้ยได้อพยพและกระจายตัว
ออกไปอาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ บนเกาะภูเก็ต เช่น พื้นที่หาดราไวย์ หาดสะป า เป็นต้น
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลไทยได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสิรินาถขึ้น จัดตั้งขึ้นตาม
พระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตบริเวณที่ดินป่าสนทะเล ป่าเขารวก ป่าเขาเมือง และบริเวณหาดในยาง ในท้องที่
ต าบลไม้ขาว ต าบลสาคู และต าบลเชิงทะเล อ าเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524 โดย
อุทยานแห่งชาติสิรินาถนั้นมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอ าเภอถลาง และมีลักษณะเป็นอุทยานแห่งชาติ
ทางทะเล
แม้ว่าการประกาศเขตอุทยานจะไม่ได้กระทบต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยในที่ดินของชาวเลอุรักลาโว้ยก็ตาม
แต่กลับมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสิทธิทางวัฒนธรรมของชาวเล กล่าวคือ วิถีชีวิตของชาวเลผูกพันอยู่กับทะเล
การท าประมงเพื่อเลี้ยงชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และเป็นอาชีพหลักของชาวเลในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งการที่
รัฐบาลไทยประกาศพื้นที่อุทยานทางทะเลซ้อนทับพื้นที่ดั้งเดิมที่ใช้ในการท าประมงของชาวเล ท าให้การเข้าไป
ท าประมงในพื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นการกระท าความผิดกฎหมายไป และท าให้ชาวเลอุรักลาโว้ยถูกเจ้าหน้าที่
จับกุมพร้อมยึดเรือและอุปกรณ์ในการท ากิน โดยนับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2555 มีชาวเลถูกเจ้าหน้าที่
จับกุมจ านวน 32 ราย ซึ่งในจ านวนนี้มีจ านวน 17 ราย ที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องคดี เพราะไม่มีความผิด
14
แต่ก็ไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐบาลไทยในความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ในระหว่างถูกจับกุม ซึ่งครั้ง
ล่าสุดที่ชาวเลถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถปรากฏขึ้นในปี พ.ศ. 2561 และถูกกล่าวหาว่า
ลักลอบจับสัตว์ทะเลในพื้นที่อุทยาน เป็นการกระท าความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
มาตรา 16 ซึ่งชาวเลได้ต่อสู้ว่าตนไม่ได้ลักลอบจับสัตว์ทะเล แต่ต้องการลงน้ าเพื่อให้ร่างกายปรับตัวเพื่อรักษา
15
อาการน้ าหนีบ
12 สถาบันไทยศึกษา. (2559). งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ปีที่ 7. สถาบันไทยศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562. จาก
https://www.chumchonthai.or.th/sites/default/files/images/infomation/(2)document-chaola7.pdf.
13 เมธิรา ไกรนที. (2552). พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม, วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. น.82.
14 ปรีดา คงแป้น.(2556). วิกฤตวิถีชาวเล. (กรุงเทพ: มูลนิธิชุมชนไท). น.20.
15 ประชาชาติธุรกิจ. (2561). 6 ชาวเลราไวย์ถูกรวบ จนท. อ้างด าน้ าจับสัตว์ทะเลเขตอุทยาน หน. ชุดยันผิดจริง. ประชาชาติ
ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562, จาก https://www.prachachat.net/general/news-98260.
3-12 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย