Page 121 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 121

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               ประมวลกฎหมายที่ดิน ชาวบ้านไม่สามารถน าพยานบุคคลหรือเอกสารแสดงการเสียภาษีบ ารุงท้องที่มาใช้เป็น

               หลักฐานในการพิสูจน์สิทธิการเข้าถือครองประโยชน์ได้ การที่ชาวบ้านเข้าไปอยู่ในที่ดินซึ่ง ออป. เป็นผู้มีสิทธิ
               ครอบครองดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จึงเป็นการกระท าละเมิด  ด้วยเหตุนี้ ออป. จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่พร้อม

               เรียกค่าเสียหาย  นอกจากนี้ ศาลได้วินิจฉัยว่า มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ไม่ใช่กฎหมาย

               เป็นเรื่องนโยบายทั่วๆ ไป และเพียงให้แนวทางหน่วยงานของรัฐที่จะยอมผ่อนปรนให้แก่ราษฎรที่เป็นคู่กรณีได้
               เท่านั้น ซึ่งไม่ตัดอ านาจฟ้องคดีของ ออป. ซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

                            11
               แพ่ง มาตรา 55
                       สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ชุมชนบ่อแก้วยังคงไม่มีความชัดเจนว่าจะด าเนินการอย่างไรต่อไป เพราะ

               ในแง่หนึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินแล้วว่าชาวบ้านไม่มีสิทธิอยู่ในพื้นที่ ถึงแม้ในทางนโยบายจะชะลอการบังคับตาม
               ค าพิพากษาไว้ก็ตาม แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนว่าชาวบ้านจะอยู่ต่อไปได้นานแค่ไหน


                       3.2.1.2  สภาพปัญหาในปัจจุบัน

                       จากศึกษาพื้นที่ข้างต้นสามารถสรุปสภาพปัญหาที่เกิดจากการประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนและอุทยาน
               แห่งชาติทับพื้นที่อยู่อาศัยและท ากินของชาวบ้านได้ ดังนี้


                       (1) พื้นที่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย จังหวัดเพชรบุรี

                          –  การบังคับอพยพชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย ในปี พ.ศ. 2539 ท าให้ความเป็นอยู่ของ

                              ชาวกะเหรี่ยงเปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ข้อจ ากัดของแปลงที่ดิน สภาพ
                              ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินและแหล่งน้ า ข้อก าหนดห้ามย้ายที่อยู่อาศัยและต้องอยู่รวมกัน

                              ห้ามกระจายการตั้งที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถท าเกษตรกรรมแบบไร่

                              หมุนเวียนได้ ผลผลิตที่ได้จึงน้อยกว่าความจ าเป็นแก่การด ารงชีพ
                          –  ในด้านวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงผูกพันอยู่กับธรรมชาติ พิธีกรรมและความเชื่อของชาว

                              กะเหรี่ยงจึงสะท้อนความเคารพที่มีต่อธรรมชาติ เมื่อสภาพแวดล้อมหรือธรรมชาติ

                              ที่เปลี่ยนแปลงไปกับความคุ้นเคยของชาวกะเหรี่ยง ท าให้วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงเปลี่ยนไป
                              เช่น ตามธรรมเนียมของชาวกะเหรี่ยงเมื่อเก็บเกี่ยวได้แล้วจะต้องท าพิธีกรรมขอบคุณพระแม่

                              ธรณีและพระแม่โพสพ แต่พิธีกรรมดังกล่าวต้องเปลี่ยนไปเนื่องจากผลผลิตที่ได้นั้นไม่เพียงพอ
                              แก่การยังชีพ เป็นต้น

                          –  แม้ว่ารัฐบาลไทยจะเข้ามารับรองสถานะการด ารงอยู่เป็นชุมชนของชาวกะเหรี่ยงโดยประกาศ
                              ตั้งหมู่บ้านบางกลอยตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 แต่ก็เป็น

                              เพียงการรับรอง การจัดตั้งชุมชนเพื่อเป็นเขตการปกครองตามกฎหมายเท่านั้น เพราะเมื่อ







               11    ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 9966/2559.



               3-10                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126