Page 116 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 116
บทที่ 3
สถานการณ์ในประเทศไทย
ภายหลังจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองได้มีการด าเนินการส ารวจการถือครองที่ดินของ
ประชาชนในปี พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม การด าเนินการดังกล่าวในสองครั้งแรก
มีปัญหาเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้ประกาศแจ้งล่วงหน้าว่าจะเข้ามาท าการถ่ายรูปแปลงที่ดิน ท าให้เกิดการตก
หล่นชาวบ้านบางรายไม่ได้ถ่ายส ารวจแปลงที่ดิน และส าหรับการด าเนินการในครั้งที่สามมีปัญหาเนื่องจากการ
ใช้ระบบก าหนดต าแหน่งทางดาวเทียม (GPS) ยังมีข้อจ ากัดด้านสภาพอากาศ เวลา และงบประมาณ ท าให้
ที่ดินของหลายคนไม่ได้รับการจับพิกัด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการส ารวจรังวัดใหม่อีกครั้งโดยใช้ระบบ
ก าหนดต าแหน่งทางดาวเทียม ซึ่งในครั้งนี้ได้มีชาวบ้านหลายคนมายืนยันการเป็นเจ้าของที่ดิน และได้มีการ
แบ่งแยกที่ดินออกให้แก่ทายาท อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ได้รับที่ดินจากการแบ่งแยกที่ดินนั้นจะถูกกล่าวหาว่า
เป็นกลุ่มบุคคลใหม่ที่เข้ามาถือครองที่ดิน โดยไม่สามารถระบุได้ว่าถือครองที่ดินต่อจากบุคคลใด และกลายเป็น
6
กลุ่มไม่ปรากฏรายชื่อผู้ที่ผ่านการส ารวจ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ด าเนินมาตรการหว่านล้อมให้ชาวบ้านยินยอมออก
จากพื้นที่โดยลงลายมือชื่อในข้อตกลงขอคืนพื้นที่ของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ต่อมาเมื่อมีการออก
ค าสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 64/2557 และ 66/2257 แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ด าเนินการ
บังคับตามค าสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ซึ่งในท้ายที่สุดชาวบ้านที่ไม่มีที่อยู่อาศัยอื่นก็จ าเป็นต้องกลับเข้ามาอยู่
ในพื้นที่ดังเดิม โดยอ้างข้อยกเว้นของค าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 ซึ่งก าหนดให้การ
ด าเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ที่ไร้ที่ดินท ากิน ซึ่งได้อาศัยอยู่
ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนค าสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่จะต้องด าเนินการสอบสวนและพิสูจน์ทราบ
แต่เนื่องจากไม่ใช่ผู้มีรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของราษฎร
7
ในพื้นที่อนุรักษ์ จึงเป็นกรณีที่รัฐถือว่าไม่ได้ท ากินในพื้นที่ก่อนมีการออกค าสั่งดังกล่าวและถือว่าเป็นการบุกรุก
(3) พื้นที่ชุมชนบ่อแก้ว จังหวัดชัยภูมิ
ชุมชนบ่อแก้วเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2496 จากการที่ชาวบ้านได้บุกเบิกเพื่อถือครองท าประโยชน์
ในที่ดินโดยมีหลักฐานเป็นเอกสารเสียภาษีบ ารุงท้องที่ ภ.บ.ท. 11 ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ในขณะนั้นได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 538 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวน
แห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้ประกาศจัดตั้งเขตป่าสงวนภูซ าผักหนามขึ้นโดยมีเขตครอบคลุมท้องที่ต าบลโนนคูณ
ต าบลห้วยยาง และต าบลทุ่งพระ อ าเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
หลังจากการประกาศเป็นเขตป่าสงวน ในปี พ.ศ. 2521 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ได้ขอรับ
สัมปทานปลูกป่าในพื้นที่เขตป่าสงวนภูซ าผักหนามจากกรมป่าไม้ เนื้อที่ 4,401 ไร่ ในระบบสมาชิกโครงการ
หมู่บ้านป่าไม้ โดยจัดสรรที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยเป็นแปลงจ านวน 100 แปลง จ าแนกผู้มีคุณสมบัติที่จะได้รับ
6 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2562). ไล่เรียงข้อเท็จจริง กรณีปัญหาอุทยานแห่งชาติไทรทองทับที่ดินของ
ชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562. จาก https://ilaw.or.th/node/5317.
7 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2562). สรุปค าพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีทวงคืนผืนป่าอุทยานแห่งชาติไทรทอง
จังหวัดชัยภูมิ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562, จาก https://ilaw.or.th/node/5336.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 3-5