Page 117 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 117

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               สิทธิออกเป็น 2 ประเภท คือ เจ้าของที่ดินเดิมและคนทั่วไปที่เข้ามาอยู่เป็นลูกจ้าง  อย่างไรก็ตาม การ

               ด าเนินงานตามระบบสมาชิกโครงการหมู่บ้านป่าไม้ก็ยังไม่สามารถจัดสรรที่ท ากินให้กับสมาชิกหมู่บ้านป่าไม้
                                                                                                         8
               ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งน ามาสู่การผลักดันขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัย จ านวน 12 ครัวเรือน

                       การคัดค้าน ออป. เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนการเข้ามาด าเนินโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยชาวบ้านเรียกร้อง
               ให้ยกเลิกการปลูกสร้างสวนป่าโดยเด็ดขาด และคืนสิทธิที่ดินท ากินให้แก่ราษฎรผู้เดือดร้อน แต่ ออป. ยังคงเข้ามา

               ด าเนินโครงการต่อไป ซึ่งชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการด าเนินการของ ออป. ได้มีความพยายามเรียกร้องให้เกิด

               การยกเลิกสวนป่าคอนสารโดยเด็ดขาด และให้ออกเอกสารสิทธิ์แก่ราษฎรผู้เดือดร้อน และมอบพื้นที่ป่าที่มี
               สภาพสมบูรณ์ที่ไม่มีการถือครองท าประโยชน์มาก่อน ให้สิทธิแก่ชุมชนและท้องถิ่นจัดการทรัพยากรป่าไม้

                                                                    9
               รูปแบบ “ป่าชุมชน” โดยได้มีความพยายามด าเนินการดังต่อไปนี้
                       1.  ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 ได้มีการจัดตั้งคณะท างานระดับพื้นที่ขึ้นตามค าสั่งอ าเภอคอนสาร

               ที่ 61/2548 ซึ่งให้ด าเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2541
               ก าหนดให้ในกรณีที่มีราษฎรร้องเรียนเสนอปัญหาให้จังหวัดแต่งตั้งคณะท างานตรวจสอบข้อเท็จจริง

                                                                                              10
               ประกอบด้วย ฝ่ายข้าราชการและราษฎรฝ่ายละเท่าๆ กัน เพื่อน าเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา  ซึ่งที่ประชุม
               ได้แสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าราษฏรที่ร้องเรียนดังกล่าวมีความเดือดร้อนจริง และมีมติให้

               ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และน าพื้นที่มาจัดสรรให้กับราษฎรที่เดือดร้อน

                       2.  ในวันที่ 16 - 17 ตุลาคม 2548 คณะอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า คณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของราษฎรอ าเภอคอนสาร และ

               ได้มีการเร่งรัดให้อ าเภอคอนสารติดตามเอกสารรายงานผลการด าเนินการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

                       3.  ในวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ประชาคมต าบลทุ่งพระ โดยนายวิชัย พลอยปัทมวิชิต ก านันต าบล

               ทุ่งพระเป็นประธานการประชุม ซึ่งมีการพิจารณากรณีปัญหาสวนป่าคอนสาร โดยที่ประชุมประชาคมต าบล
               ทุกหมู่บ้านมีมติให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และให้ด าเนินการจัดสรรที่ดินให้กับราษฎรผู้เดือดร้อน  ทั้งนี้

               ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ ให้ราษฎรผู้เดือดร้อนสามารถเข้าท าประโยชน์ในพื้นที่ได้ จ านวน
               เนื้อที่ 1,500 ไร่


                       4.  ในวันที่ 4 - 12 มีนาคม 2552 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ได้ชุมนุมติดตามการ
               แก้ไขปัญหาที่ท าเนียบรัฐบาล ซึ่งต่อมาวันที่ 9 มีนาคม 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

               ได้มีค าสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอ านวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยมี



               8    โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2562). ยกเลิกสวนป่าคอนสาร ความฝันของชุมชนบ่อแก้วหลังแพ้ในศาล. สืบค้น
                   เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562. จาก https://ilaw.or.th/node/5348.
               9    ปราโมทย์ ผลภิญโญ. (2553). กรณีปัญหาการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ดินท ากิน และที่อยู่อาศัย. มูลนิธิชีวิตไท. สืบค้น
                   เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562. จาก http://www.landactionthai.org/land/index.php?option=com_content &view=
                   article&id=1249: กรณีปัญหาการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ดินท ากิน-และที่อยู่อาศัย&catid=87&Itemid=546.
               10    โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 7.



               3-6                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122