Page 30 - คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และรายการตรวจสอบของภาคธุรกิจ
P. 30

ให้ฝ่ายต่างๆ ในบริษัทมีส่วนร่วม


                  ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการดำาเนินงานของหลายฝ่ายภายในบริษัท ยกตัวอย่างเช่น

            ฝ่ายทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่จะดูความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ลูกจ้าง และลูกจ้างรับเหมาค่าแรง (Sub-contract)
            เป็นหลัก ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างอาจดูเรื่องสิทธิของแรงงานหรือผู้จำาหน่ายวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทาน ส่วนฝ่ายพัฒนาโครงการ
            ก็มักจะเน้นเรื่องผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งบริษัทที่มีขนาดเล็กอาจมีผู้จัดการไม่กี่คนแบ่งกันดูความเสี่ยงเหล่านี้

            นอกจากนี้ สหภาพแรงงานหรือตัวแทนลูกจ้างภายในองค์กรก็อาจเป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
            มาตรฐานทางเทคนิค หรือสภาพแวดล้อมในตลาดแรงงานที่อาจส่งผลต่อสิทธิของแรงงานได้




                                           มองหาความเชี่ยวชาญจากภายนอก


                  ถ้าบริษัทของคุณไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร ก็สามารถมองหาจากภายนอกบริษัทได้ในการ

            พัฒนานโยบาย ถ้าบริษัทของคุณมีขนาดเล็ก การศึกษาแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ของสมาคมทางธุรกิจ แนวร่วมของผู้มี
            ส่วนได้เสีย หรือองค์กรต่างๆ ที่ทำางานด้านสิทธิมนุษยชน ก็เป็นจุดตั้งต้นที่ดีได้


                  การเปรียบเทียบนโยบายบริษัทของคุณกับนโยบายของบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันอาจเป็นประโยชน์

            โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ผู้นำา” ด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน




                                               ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม


                  คุณควร “ทดสอบ” ร่างนโยบายของบริษัทกับตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มหลัก เพื่อช่วยให้บริษัททำาความเข้าใจว่า
            นโยบายนั้นเมื่อประกาศออกไปแล้วจะถูกมองจากผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นอย่างไร ตัวอย่างวิธีที่ใช้ได้ อาทิ







                               •  สอบถามความเห็นจากตัวแทนสหภาพแรงงาน
                               •  สอบถามความเห็นจากตัวแทนชุมชนท้องถิ่นหรือองค์กรพัฒนาเอกชน
                                  (NGO) ในพื้นที่ปฏิบัติการหลัก
                               •  สอบถามความเห็นจากนักลงทุน โดยเฉพาะกองทุนที่ใช้หลักการลงทุนอย่าง

                                  รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investment: SRI) ซึ่งมีความ
                                  เชี่ยวชาญในด้านนี้
                               •  จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการเพื่อขอความเห็น คณะ
                                  กรรมการดังกล่าว อาจประกอบด้วย ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                                  แห่งชาติ (กสม.) องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) สหภาพแรงงาน กองทุน
                                  ที่ลงทุนอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะ
                                  กรรมการนี้อาจมีบทบาทในระยะยาวด้วย เช่น ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
                                  ต่อความพยายามของบริษัทที่จะลงมือปฏิบัติตามนโยบายขององค์กร






             30
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35