Page 14 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 14
จากงานวิจัยเรื่อง “การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง : ส�ารวจอุปสรรคและการเปลี่ยนแปลงที่จ�าเป็น”
โดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลและมูลนิธิยุติธรรมและสันติภาพ พบว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้เข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างจ�ากัดในการจัดการปัญหาต่างๆ ในครอบครัวและชุมชน เช่น ความรุนแรงในครอบครัว
๒
การสมรส การสิ้นสุดการสมรส การจ่ายค่าเลี้ยงดู หรือการจัดการมรดก ทั้งนี้เนื่องจาก ๑) กฎหมายอิสลามที่ใช้อยู่
ขาดความชัดเจน การตีความไม่แน่นอน เนื่องจากเป็นการใช้ดุลยพินิจของดะโต๊ะยุติธรรม และไม่มีประมวลหลักเกณฑ์
การตัดสินตามกฎหมายอิสลามอย่างเป็นทางการ ๒) ผู้น�าศาสนาในระดับชุมชนและระดับจังหวัดล้วนเป็นผู้ชาย
ซึ่งอาจไม่เข้าใจในปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงเผชิญอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อผู้หญิงอันเนื่องมาจาก
๓
ฐานคิดเรื่องเพศสภาพ และ ๓) ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับหลักศาสนา
เพียงพอที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้ตนเอง กลไกยุติธรรมระดับชุมชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในการอ�านวยความยุติธรรม
เบื้องต้นตามที่ปฏิบัติกันมาในหลายกรณีไม่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามที่ให้ความส�าคัญในเรื่องความรัก ความเมตตา
ความยุติธรรม และความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
ในการเข้าถึงความยุติธรรมของหญิงมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีจ�านวนน้อยมากที่คดี
ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศถูกน�าขึ้นสู่การพิจารณาของศาล อีกทั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย
อิสลามฯ มาตรา ๓ ก�าหนดให้ใช้กฎหมายอิสลามวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลาม
เฉพาะคดีที่ขึ้นสู่ศาลเท่านั้น จึงอาจท�าให้กฎหมายอิสลามใช้ได้ในศาลเท่านั้น เป็นการใช้เฉพาะการตัดสินคดีในศาล
แต่ไม่ผูกพันถึงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นนอกศาล คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่ดินฯ อาจไม่ยอมรับ
กฎหมายอิสลามในเรื่องการสมรส การสิ้นสุดการสมรส และการแบ่งมรดก เป็นผลให้ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงความยุติธรรม และต้องเผชิญกับปัญหานานาประการโดยที่ไม่มีมาตรการและแนวทาง
ในการคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา แก่ผู้หญิงที่เผชิญความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
๑ เพียงพร วิเศษสินธุ์, “กฎหมายอิสลามกับการจัดการมรดก: ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดสตูล”, รายงานการอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น”รุ่นที่ ๑๐ สถาบัน
พัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ส�านักงานศาลยุติธรรม พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า ๓๓.
๒ เรื่องเดียวกัน หน้า ๓๓.
๓ เพศสภาพ หรือ เพศภาวะ หมายถึง บทบาท พฤติกรรม และคุณลักษณะ ที่สังคมก�าหนดให้แก่หญิงและชาย และยังหมายรวมถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเหล่าหญิงและชาย
ในสังคม คุณลักษณะ โอกาส และสัมพันธภาพนี้ ถูกประกอบสร้างโดยสังคมและเรียนรู้กันผ่านกระบวนการกล่อมเกลา ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทและกาลเวลา เพศสภาพจะเป็น
ตัวก�าหนดความคาดหวัง ข้อห้าม และการให้คุณค่าแก่หญิงและชายในบริบทนั้น ๆ ในสังคมส่วนใหญ่จะมีความแตกต่างและความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงและชายในเรื่องการมอบหมายความ
รับผิดชอบ ภาระหน้าที่ การเข้าถึงและควบคุมทรัพยากร ตลอดจนโอกาสในการตัดสินใจ เพศสภาพยังใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการวิเคราะห์ทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย นอกเหนือจากอายุ
ชนชั้น ระดับความยากจน เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ และรสนิยมทางเพศ
แปลจากเว็บไซต์ของ UN Women: Gender Equality Glossary,
(https://trainingcentre.unwomen.org/mod/glossary/view.php?id=36&mode=&hook=ALL&sortkey=&sortorder=&fullsearch=0&page=1)
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3