Page 13 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 13

๑




                                                         บทน�ำ



                     ๑.๑  ภาพรวมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมชายแดนใต้: กรณีความรุนแรงในครอบครัวและ

              ความรุนแรงในชุมชน
                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on

              the Elimination of All Forms of Discrimination against Women-CEDAW) ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมี
              ข้อสงวน ๗ ข้อ (การมีส่วนร่วมทางการเมืองและกิจกรรมสาธารณะ สัญชาติ การศึกษา การจ้างงาน การท�าสัญญา
              การสมรส และการระงับข้อพิพาทด้วยศาลระหว่างประเทศ) ซึ่งต่อมาได้มีการถอนออกไปเป็นระยะๆ เหลือเพียง

              การระงับข้อพิพาทด้วยศาลระหว่างประเทศที่ประเทศไทยยังไม่รับที่จะผูกพัน แม้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการ
              ปฏิรูปกฎหมายมาโดยล�าดับ ตั้งแต่การที่รัฐธรรมนูญยอมรับในความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย มีบทบัญญัติ

              รองรับมาตรการพิเศษชั่วคราว และคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการพิจารณาคดีความผิด
              เกี่ยวกับเพศ และประกันการเข้าถึงบริการฟื้นฟูต่างๆ รวมถึงมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี
              หลายฉบับ มีการออกกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองผู้หญิงจากความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ แต่การ

              เข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงในภาวะยากล�าบากมักถูกมองข้าม ท�าให้
              ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและทันท่วงทีตามมาตรฐาน CEDAW จากกระบวนการยุติธรรมทั้งที่เป็นทางการ

              และไม่เป็นทางการ
                     ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้หญิงในภาวะยากล�าบากนี้ แม้ประเทศไทยจะรับรอง
              ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๓๒๕ (UN Secretary Council Resolution 1325-UNSCR

              1325) และมติอื่ๆ ที่เรียกร้องให้รัฐภาคีส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับในเรื่องการป้องกัน
              การจัดการ และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ใช้มาตรการพิเศษและมาตรการที่เหมาะสมคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิง

              จากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศรูปแบบอื่นๆ และรูปแบบ
              ทั้งปวงของความรุนแรงในสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้ก�าลังอาวุธ แต่จนถึงปัจจุบันรัฐมักให้ความส�าคัญกับ
              นโยบาย แผนงาน และงบประมาณเพื่อยุติความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งมากกว่าค�านึงถึงการเข้าถึงความยุติธรรม

              และการขจัดการเลือกปฏิบัติ
                     ในบริบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลาม พระราช

              บัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. ๒๔๘๙ มีบทบัญญัติให้
              ศาลชั้นต้นสามารถใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกในการพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวกับคดีครอบครัวและ
              มรดกโดยไม่จ�าเป็นต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยให้มีดะโต๊ะยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้พิพากษา

              ศาลชั้นต้นในการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดคดีครอบครัวและมรดก และเปิดโอกาสให้ศาลสามารถตีความหลักการ
              ของกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวข้องและน�ามาบังคับใช้กับคดีครอบครัวมรดกโดยให้การตัดสินในชั้นนี้เป็นที่สิ้นสุด (มาตรา ๔)

              ซึ่งหากดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามผิดพลาดไปคู่ความไม่สามารถอุทธรณ์และฎีกา อันอาจท�าให้เกิด
                           ๑
              ความสียหายได้






                2      ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18