Page 77 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 77
บทที่ ๓ การประเมินสถานการณ์
ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในส่วนนี้จะพิจารณา
หลักตัวชี้วัด (indicators) ซึ่งมีลักษณะของสิ่งที่รัฐต้องเคารพ ให้การคุ้มครอง
และด�าเนินการให้เกิดขึ้นตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้ตามกติกา ICCPR อนุสัญญา CAT
และอนุสัญญา CPED เป็นส�าคัญ โดยให้ความส�าคัญกับสารัตถะของสิทธิแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
(non-derogable rights) หรือสิทธิเชิงลบ (negative rights) ซึ่งมิอาจเพิกถอนหรือ
ลิดรอนได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม เช่น สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด และ
สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน เป็นต้น ทั้งนี้ แม้ว่าในบางสถานการณ์ที่มีความจ�าเป็น ก�าหนดให้รัฐ
สามารถจ�ากัด หรือเพิกถอนสิทธิบางประการได้ (derogable rights) แต่การด�าเนินการ
ดังกล่าว ต้องเป็นการชั่วคราว มีเหตุผลหลักเพื่อความมั่นคงของชาติ ความสงบ
เรียบร้อย การสาธารณสุข หรือเพื่อศีลธรรมของสังคมโดยรวม โดยรัฐต้องให้ความ
ส�าคัญกับการพิจารณาขั้นตอนการด�าเนินการตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ
หากจ�าเป็นต้องเพิกถอนสิทธิบางประการ ต้องเกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐไม่สามารถ
หาวิธีการอื่น ๆ มาทดแทนได้ มีความจ�าเป็นเพื่อเหตุผลที่ชอบธรรม โดยต้องบัญญัติเป็น
กฎหมายที่ชัดเจน และใช้อย่างจ�ากัด เท่าที่จ�าเป็น ได้สัดส่วน เหมาะสมกับสถานการณ์
และเป็นมาตรการที่จ�าเป็นในสังคมประชาธิปไตย โดยหลักการนี้ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๓ มาตรา ๒๖ ด้วย
ในปี ๒๕๖๐ กสม. ประมวลภาพรวม พร้อมประเมินสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และมีข้อเสนอแนะด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ใน ๓ ประเด็น ดังนี้
76 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐