Page 46 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 46
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
การประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนเริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย และจนถึงปี ๒๐๑๕
(พ.ศ. ๒๕๕๘) ซึ่งเป็นปีที่อาเซียนเข้าสู่การเป็นประชาคมเต็มรูปแบบ มีการประชุมทั้งสิ้นจ�านวน ๒๗ ครั้ง
๓.๓.๒ คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council)
คณะมนตรีประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจาก
ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประชุมอย่างน้อยปีละสองครั้ง โดยท�าหน้าที่หลักในการเตรียมการประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน
ประสานงานการอนุวัติการตามข้อตกลงและการตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน ประสานงานกับคณะมนตรี
ประชาคมอาเซียนเพื่อให้เกิดนโยบายที่สอดประสานกัน ประสิทธิภาพและความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งสอง ประสานงาน
เพื่อการน�าส่งรายงานต่าง ๆ จากคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่อที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน พิจารณารายงานประจ�าปี
ของเลขาธิการเกี่ยวกับการด�าเนินงานของอาเซียน พิจารณารายงานของเลขาธิการเกี่ยวกับหน้าที่และการด�าเนินงานของ
ส�านักเลขาธิการและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนรองเลขาธิการอาเซียนด้วย
ค�าแนะน�าของเลขาธิการ และด�าเนินการอื่นใดที่ก�าหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียนหรือกิจกรรมอื่นที่อาจได้รับมอบหมายโดยที่
31
ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน
๓.๓.๓ คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Communities Councils)
คณะมนตรีประชาคมอาเซียนเป็นองค์กรที่รวมประชาคมย่อยทั้งสามของอาเซียน คือ ประชาคม
การเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมไว้ด้วยกัน โดยแต่ละประชาคมจะ
ประกอบด้วยองค์กรระดับกระทรวงรายสาขาของอาเซียน ทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะก�าหนดให้มีผู้แทนส�าหรับ
การประชุมคณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละครั้ง และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของประชาคมต่างๆ ของอาเซียน คณะ
มนตรีประชาคมอาเซียนมีหน้าที่ในการดูแลการอนุวัติการตามมติต่าง ๆ ของที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียน ประสานการ
ด�าเนินงานของสาขาต่าง ๆ ภายใต้ขอบอ�านาจหน้าที่ และประเด็นต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อคณะมนตรีของประชาคมอื่น ๆ
32
และส่งรายงานและข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนในเรื่องที่อยู่ในขอบอ�านาจหน้าที่
๓.๓.๔ องค์กรระดับกระทรวงรายสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies)
องค์กรระดับกระทรวงรายสาขาของอาเซียนมีหน้าที่ด�าเนินการตามขอบอ�านาจหน้าที่ของ
กระทรวงต่าง ๆ อนุวัติการตามข้อตกลงและมติของที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนที่อยู่ในขอบอ�านาจหน้าที่ ประสานงาน
ในการด�าเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอ�านาจหน้าที่เพื่อสนับสนุนการรวมตัวและการสร้างประชาคมอาเซียน และส่งรายงาน
และข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ องค์กรระดับกระทรวงรายสาขาอาจมีองค์กรเจ้าหน้าที่
33
อาวุโสและองค์กรสนับสนุนที่อยู่ใต้ขอบอ�านาจหน้าที่ของตน โดยกฎบัตรอาเซียนได้ก�าหนดรายชื่อองค์กรเจ้าหน้าที่
อาวุโสของกระทรวงต่าง ๆ เช่น ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Foreign Ministers
31
มาตรา ๘ แห่งกฎบัตรอาเซียน
32
มาตรา ๙ แห่งกฎบัตรอาเซียน
33
มาตรา ๑๐ แห่งกฎบัตรอาเซียน
45
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ