Page 44 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 44

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community










                         ตามรูปภาพที่ ๒ โครงสร้างหรือผังองค์กรของอาเซียนก�าหนดตามประชาคมหลักทั้งสามของอาเซียนกล่าวคือ
            ได้จัดตั้งส�านักงาน (Department ซึ่งถ้าเทียบกับชื่อเรียกหน่วยงานในประเทศไทยจะเรียกเป็น “กรม”) เพื่อรับผิดชอบ

            การประสานงานของประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้ง
            มีส�านักงานแยกต่างหากเพื่อท�าหน้าที่ในการอ�านวยการภายในส�านักเลขาธิการ (Community and Corporate Affairs
            Department) โดยแต่ละ “ฝ่าย” จะมีผู้บริหารต�าแหน่งรองเลขาธิการอาเซียน (Deputy Secretary-General) เป็น
                      29
            ผู้ก�ากับดูแล การก�าหนดโครงสร้างองค์กรและการจัดอัตราก�าลังถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ
            การท�างานของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนซึ่งจะได้วิเคราะห์ในรายละเอียดต่อไปในบทที่ ๖ ในที่นี้สมควรกล่าวว่า นับแต่

            มีการจัดตั้ง  AICHR  ขึ้นในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๒  จนถึงปี  พ.ศ.  ๒๕๕๘  ซึ่งเป็นช่วงที่มีการจัดท�าวิสัยทัศน์อาเซียน  ๒๐๒๕
            ฝ่ายเลขานุการของ AICHR สังกัดฝ่ายอ�านวยการ (ทั้งที่ AICHR มีหน้าที่ตามเอกสารก�าหนดขอบเขตอ�านาจหน้าที่ (TOR)
            ให้รายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศอาเซียน (AMM) ซึ่งเป็นองค์กรที่รับผิดชอบประชาคมความมั่นคง

            และการเมือง  และเมื่อมีการก�าหนดวิสัยทัศน์อาเซียน  ๒๐๒๕  ได้มีการปรับสังกัดของฝ่ายเลขานุการ  AICHR  มาขึ้นกับ
            ฝ่ายการเมืองและความมั่นคง โดยมีแผนก “สิทธิมนุษยชน” ขึ้นเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างดังกล่าว
            ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความซ�้าซ้อนของงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ยังคงมีหน่วยงานในส�านักเลขาธิการอาเซียนที่รับผิดชอบ

            งานด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรงถึงสองหน่วยงานในเวลาเดียวกัน โดยนอกเหนือจากฝ่ายเลขานุการของ AICHR แล้ว ยังมี
            ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิเด็กและสตรี (ACWC) สังกัดฝ่ายสังคมและวัฒนธรรม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
            แม้จะมีวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๕  แล้วก็ตาม





                     ๓.๓ องค์กรหลักของประชาคมอาเซียน



                          กฎบัตรอาเซียนได้รับรองสถานะขององค์กรที่ท�าหน้าที่ตัดสินใจด้านนโยบายสูงสุดของอาเซียน  และได้จัดตั้ง

            องค์กรที่ท�าหน้าที่ในการประสานงานด้านนโยบายต่าง ๆ ของอาเซียนเพิ่มขึ้นหลายองค์กร
                          โดยองค์กรหลักมีดังต่อไปนี้

















                    29  รองเลขาธิการอาเซียนทั้ง ๔ คนจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติของประเทศสมาชิก โดยจะมีสัญชาติเดียวกับเลขาธิการไมได้ และจะมา

            จากประเทศเดียวกันไมได้ สืบค้นจาก http://www.asean.org/asean/asean-secretariat/deputy-secretaries-general-of-asean/




                                                                                                              43
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49