Page 55 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 55
กรอบการท�า HRDD 7
บทบาทของภาครัฐ
ภาครัฐมีความรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้วต่อโครงการใดๆ ก็ตามของบริษัทที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น รวมถึง
หน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสมาชิกในชุมชน กฎหมายบางประเทศระบุว่ารัฐบาลจะต้องจัดประชาพิจารณ์
จากชุมชนก่อนที่จะออกใบอนุญาตหรือให้ความเห็นชอบ (กฎหมายไทยระบุให้บริษัทผู้ดำาเนินโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ
ดำาเนินการ) บริษัทเผชิญกับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้นเมื่อใดที่รัฐไม่จัดประชาพิจารณ์ หรือจัดแต่ไม่เพียงพอ
แนวปฏิบัติของ IFC แนะนำาว่าบริษัทควรติดตามประชาพิจารณ์ที่จัดโดยรัฐกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการของ
บริษัท เมื่อใดที่กระบวนการทำาประชาพิจารณ์ถูกตั้งคำาถามหรือมีประเด็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ได้รับการตอบสนอง
เมื่อนั้นบริษัทก็ควรจะพยายามค้นหาประเด็นเหล่านั้นและรับมือเองเท่าที่จะทำาได้ บริษัทอาจหาอำานาจควบคุมด้วยการ
พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมหรืออย่างน้อยก็ส่งผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการประชาพิจารณ์ใดๆ ก็ตามที่จัดโดยรัฐ บริษัท
จะได้มั่นใจว่ากระบวนการนั้นๆ ดีพอ หรือพยายามหาทางปรับปรุงถ้าจำาเป็น
กระบวนการประชาพิจารณ์ที่ “มีความหมาย” ในทางปฏิบัติ
กล่าวโดยทั่วไป ประสบการณ์ของบริษัทต่างๆ ที่ผ่านมาบอกว่าปัจจัยต่อไปนี้ อาจเป็นตัวตัดสินระหว่างกระบวนการ
ประชาพิจารณ์ที่ดูดีบนกระดาษ กับประชาพิจารณ์ที่มีความหมายในทางปฏิบัติ
• มีกลยุทธ์การมีส่วนร่วม ประเด็นนี้อาจสำาคัญเป็นพิเศษเมื่อฝ่ายต่างๆ ในบริษัท
นิยาม “การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย” แตกต่างกัน การสื่อสารของฝ่ายการสื่อสารองค์กร
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการที่บริษัทอาจคิดเอาเองว่า
จะส่งผลรวมแบบ “บวกกัน” เป็นผลดีนั้นอาจไม่ตรงกับความคาดหวังของชุมชนก็ได้
• สะท้อนระดับการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม บริษัทไม่จำาเป็นจะต้องปรึกษาผู้มีส่วนได้เสียทุกราย
เวลาที่ตัดสินใจทุกเรื่อง และระดับการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มก็แตกต่างกัน ถ้าหากบริษัท
ไม่จัดการกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (ว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจอะไรบ้าง)
พวกเขาก็อาจไม่พอใจและผิดหวัง
• เข้าใจคุณค่าของการปรึกษาหารือกับชุมชนว่าเป็น “เครื่องมือสร้างความไว้วางใจ” ได้
นักชุมชนสัมพันธ์ที่มีทักษะสูงสามารถท้าทายมุมมองเดิมๆ ที่ว่า บริษัทสามารถจัดการกับ
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียด้วยการไม่ต้องให้มีส่วนร่วมก็ได้ โดยเฉพาะในขั้นการสำารวจ
ความเป็นไปได้ของโครงการ แต่ประสบการณ์ธุรกิจทั่วโลกชี้ว่าข้อเท็จจริงอยู่ตรงข้าม กล่าวคือ
การให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยปัดเป่าข่าวลือเกี่ยวกับโครงการ ทำาให้ทุกฝ่ายเข้าใจมุมมอง
ของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น รวมถึงมุมมองของบริษัท และช่วยลดช่องว่างความแตกต่างระหว่าง
ความคาดหมายของแต่ละคน
• บริษัทต้องมองว่าการมีส่วนร่วมนั้นเป็น กระบวนการต่อเนื่อง (On-going Process) ถ้าหากบริษัท
ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเฉพาะแต่ในเวลาที่ “จำาเป็น” (ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดอุบัติภัยจากโรงงาน)
ผู้มีส่วนได้เสียก็จะมีแรงจูงใจที่จะสร้างข้อร้องเรียนเทียมขึ้นมา เพื่อเรียกร้องความสนใจจากบริษัท
นอกจากนั้นยังพลาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์อันตั้งอยู่บนความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
53