Page 54 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 54

•  คำานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ ไม่เฉพาะแต่ในระดับพื้นที่ แต่ยังรวมถึงมิติอื่นๆ ของการ
                  ประกอบกิจการ เช่น สถานปลูกสร้าง เส้นทางขนส่ง พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบสะสม หรือ
                  การเปลี่ยนแปลงที่อาจไม่ได้ตั้งใจแต่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า

                •  ระบุชนิดและลักษณะของ “ผลกระทบสะสม” ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นผลกระทบที่อาจไม่ชัดเจน
                  ตั้งแต่แรก ด้วยการทำาแผนที่สิ่งปลูกสร้างในระยะสั้น และในระยะยาวของบริษัท และคำานึงถึง
                  ผลกระทบจากโครงการก่อนหน้านั้นของบริษัทด้วย

                •  หลีกเลี่ยงการนิยาม “ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ” อย่างแคบเกินไป เนื่องจากชุมชน
                  ที่อยู่ด้านนอกพื้นที่ซึ่งถูกระบุว่า “พื้นที่ผลกระทบจากโครงการ” อาจ “รู้สึก” ว่าพวกเขาได้รับ
                  ผลกระทบ หรือรู้สึกว่าถูกกีดกันออกจากประโยชน์ของโครงการตามอำาเภอใจของบริษัท
                •  ประเมินความสำาคัญของโครงการต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มจากมุมมองของพวกเขาเอง
                  บางกลุ่มอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

                •  พิจารณาตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มใดหรือบุคคลใดมีความเปราะบางหรืออยู่ชายขอบ
                  มากที่สุดในบรรดาผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด และคำานึงว่าบริษัทจะต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษหรือ
                  ไม่ในการให้พวกเขามีส่วนร่วม

                •  เวลาระบุตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทของคุณควรให้ความสำาคัญเป็นพิเศษว่า
                  ตัวแทนเหล่านั้นเป็น “ตัวแทน” มุมมองของผู้มีส่วนได้เสียจริงๆ หรือไม่ บริษัทสามารถไว้วางใจ
                  ให้สื่อสารผลการเข้ามามีส่วนร่วมกับบริษัท กลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียที่พวกเขาเป็นตัวแทนได้หรือไม่






                                  การสร้างกระบวนการปรึกษาหารือที่เหมาะสม


               การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นจะต้องปรับให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
         ที่คุณต้องไปปรึกษา แนวปฏิบัติโดย IFC ชี้ว่า กระบวนการปรึกษาหารือที่ดีนั้นควรมีลักษณะดังนี้




                •  พุ่งเป้าไปยังบุคคลที่น่าจะได้รับผลกระทบสูงสุดจากโครงการ

                •  จัดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทำาความเข้าใจกับประเด็นหลัก และจะได้ส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับ
                  การดำาเนินโครงการนั้นๆ ได้
                •  ผู้มีส่วนได้เสียได้รับข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน โดยได้รับข้อมูลซึ่งถูกกระจายก่อนหน้ากระบวนการ

                •  มีความหมายต่อผู้มีส่วนได้เสีย เนื่องจากเนื้อหาถูกนำาเสนอในรูปแบบที่ง่ายต่อการทำาความเข้าใจ และใช้
                  เทคนิคซึ่งเหมาะสมทางวัฒนธรรม
                •  เป็นการสื่อสารสองทาง ให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูล รับฟังซึ่งกันและกัน และ
                  ได้หยิบยกประเด็นที่ตนสนใจหรือกังวล

                •  มีความเท่าเทียมทางเพศ ตระหนักว่าผู้ชายและผู้หญิงมักจะมีมุมมองและความต้องการที่แตกต่างกัน
                •  จัดในบริบทท้องถิ่น ใช้เวลาและภาษาถิ่นที่เหมาะสม
                •  มีการบันทึก เพื่อติดตามว่าบริษัทเคยปรึกษาหารือกับใครบ้าง และมีการหยิบยกประเด็นใดบ้าง
                •  รายงานผลกลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียอย่างทันท่วงที พร้อมคำาอธิบายว่า ขั้นตอนต่อไปของบริษัทคืออะไร

                •  จัดขึ้นอย่างสม่ำาเสมอตามความต้องการ ตลอดอายุขัยของโครงการ



             52
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59