Page 53 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 53

กรอบการท�า HRDD      7






                                               อาศัยผู้เชี่ยวชาญภายนอก



                  บริษัทของคุณอาจพึ่งพาแหล่งความเชี่ยวชาญภายนอกในการประเมินแนวโน้มผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
            แหล่งที่เป็นไปได้มีอาทิ




                    •  คำาแนะนำาจากรัฐบาล คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)

                       สถาบันการศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ตำารวจ
                    •  เอกสารหรือข้อเขียนที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งรายงานจาก NGO รัฐบาล สมาคมธุรกิจ
                       หรือ แนวร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย เอกสารเหล่านี้อาจทำาให้คุณเข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย
                       หรือประเด็นที่กำาลังอุบัติขึ้นในบริบทของการประกอบธุรกิจ และทำาให้ได้เห็นตัวอย่างผลกระทบ

                    •  ภาคประชาสังคมในท้องถิ่น เช่น นักสิทธิมนุษยชน สหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)
                       และคนอื่นๆ ที่สามารถช่วยให้มองเห็นผลกระทบได้ นอกจากนี้ การขอความช่วยเหลือจากบุคคล
                       หรือองค์กรเหล่านี้ยังเป็น การเพิ่มความโปร่งใสของบริษัทของคุณ และอาจช่วยปัดเป่าความกังวล
                       ที่พวกเขามีต่อบริษัท

                    •  รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือรายงานผลกระทบ
                       ทางสังคม (EIA / EHIA / SIA) ที่เปิดเผยต่อสาธารณะอาจบ่งชี้ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนได้







                5          ปรึกษาผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ




                  “ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ” (Affected Stakeholders) ในหลักการชี้แนะ UNGP หมายถึง บุคคลใดก็ตามที่

            สิทธิมนุษยชนอาจได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจ สินค้า หรือบริการของบริษัท เขาหรือเธอถือเป็น “ผู้ทรงสิทธิ”
            (Rights Holder) ซึ่งรวมถึงมนุษย์ทุกคน และแตกต่างจากผู้มีส่วนได้เสียในภาคประชาสังคม ธุรกิจ หรือภาครัฐ ซึ่งอาจ
            มีผลประโยชน์เกี่ยวพันหรือส่งผลกระทบต่อกิจการได้ แต่ไม่ใช่ว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากบริษัท การปรึกษาหารือ
            ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจะช่วยให้บริษัทเข้าใจมุมมองของพวกเขาว่า ผลกระทบต่างๆ นั้นส่งผลกระทบต่อชีวิต

            ความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างไรจริงๆ การสาธิตให้เห็นว่าบริษัทเอาจริงกับการนำาข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับ
            ผลกระทบมาปรับปรุงกิจการ จะช่วยให้ให้บริษัทสร้างความเข้าใจร่วมกันได้ ทำาให้เป็นไปได้ที่บริษัทจะทำางานร่วมกับ
            ผู้มีส่วนได้เสียในการระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และหาทางรับมือกับมันอย่างยั่งยืน




                                     ท�าแผนที่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Map)


                  การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นก่อนอื่นจะต้องอาศัยการระบุว่า ผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละโครงการมีใครบ้าง
            รวมถึงกลุ่มย่อยภายในแต่ละกลุ่ม เช่น สตรี เยาวชน แรงงานผู้พิการ ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ฯลฯ คู่มือ Good Practice
            Handbook on Stakeholder Engagement ของ International Finance Corporation (IFC) องค์กรลูกของธนาคารโลก

            หยิบยกข้อพิจารณาบางประเด็นที่อาจสำาคัญต่อการทำาแผนที่ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น




                                                                                                          51
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58