Page 35 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 35

หลักการของ HRDD      5






                                       การฝึกอบรมและเสริมสร้างความตระหนักรู้


                  บุคลากรในฝั่งด้านเทคนิคของธุรกิจ (เช่น ฝ่ายพัฒนาธุรกิจโรงแรม ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ฯลฯ) มักจะคำานึงถึง
            สิทธิมนุษยชนในงานของพวกเขา หากพวกเขาเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของอะไร  เกี่ยวกับบริษัทอย่างไร
            สำาคัญต่อความรับผิดชอบของพวกเขาอย่างไร และพวกเขาควรลงมือทำาอะไรบ้าง คุณสามารถช่วยลดความระแวง

            และทำาให้บุคลากรเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้นด้วยการทำาสิ่งต่อไปนี้




                  •  จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงานในฝ่ายสำาคัญ เช่น ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง
                     และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เช่น วิศวกร
                  •  จัดตั้งจุดติดต่อเพื่อสนับสนุนพนักงาน ณ พื้นที่ปฏิบัติการ ช่วยตอบคำาถามและคลี่คลายปัญหา
                  •  เผื่อเวลาให้กับ “ช่วงสิทธิมนุษยชน” ก่อนเริ่มการประชุมในองค์กร แบบเดียวกับที่หลายบริษัททำาสำาหรับ

                     ประเด็นความปลอดภัย โดยอาจเป็นข้อความย้ำาเตือนสั้นๆ ว่า ประเด็นที่กำาลังจะถกกันนั้นอาจมีนัย
                     เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนซึ่งจะต้องพิจารณาด้วย
                  •  หารือกับสหภาพแรงงานหรือตัวแทนพนักงาน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนัก
                     ต่อนโยบายของบริษัท

                  •  จัดการเสวนาแบบมีส่วนร่วมในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เฉพาะเจาะจง
                  •  จัดทำารายงานสรุปเป็นการภายในเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่กำาลังเป็นประเด็นใหญ่ เช่น การเข้าถึง
                     แหล่งน้ำา การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น โดยบริษัทควรเน้นการจัดกิจกรรมเหล่านี้
                     ในบริบทที่มีความเสี่ยงสูงสุดด้านผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน






                                        สร้างกลไกความรับผิด (Accountability)


                  กลไกความรับผิดภายในสำาหรับการนำานโยบายนี้ไปปฏิบัติมีความสำาคัญอย่างยิ่ง บริษัทของคุณสามารถต่อยอด
            ประสบการณ์จากเมื่อครั้งที่บูรณาการมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งวันนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ “งานที่ทุกคน
            ต้องทำา” ในมุมมองของพนักงานบริษัทจำานวนมากไปแล้ว วิธีที่จะบูรณาการความรับผิดสำาหรับการเคารพสิทธิมนุษยชน
            มีตัวอย่างดังนี้




                  •  มอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง คณะทำางานภายใต้คณะกรรมการบริษัทหรือคณะผู้บริหารระดับสูง
                     เช่น คณะกรรมการความยั่งยืน หรือ คณะกรรมการจรรยาบรรณทางธุรกิจ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแล
                     ประเด็นสิทธิมนุษยชน
                  •  จัดตั้งกลไกความรับผิด ทั้งในระดับองค์กรและระดับพื้นที่ปฏิบัติการ เช่น มอบหมายให้ CEO เป็นผู้รับ

                     ผิดชอบสูงสุดในประเด็นสิทธิมนุษยชน กำาหนดให้ผู้จัดการระดับภาคหรือภูมิภาคต้องลงนาม เวลาที่
                     รายงานประเด็นสิทธิมนุษยชน
                  •  ผูกดัชนีชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicators: KPI) และระบบการให้รางวัลบุคลากรเข้ากับการนำา

                     นโยบายไปปฏิบัติ และทำาเช่นนี้ตลอดทั้งองค์กร ไม่ใช่เฉพาะกับคนที่ได้รับมอบหมายให้เป็น “เจ้าภาพ”
                     เรื่องสิทธิมนุษยชนเท่านั้น





                                                                                                          33
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40