Page 31 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 31
หลักการของ HRDD 5
• ความทุ่มเทของบริษัทในการดำาเนินกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน
อย่างรอบด้าน (HRDD) อย่างสม่ำาเสมอ โดยอาจระบุว่าบริษัทจะใช้
กระบวนการนี้ในขั้นตอนใดของการดำาเนินธุรกิจ (เช่น ก่อนการก่อสร้าง
โครงการใหม่)
• รูปแบบกลไกการรับเรื่องร้องเรียนในระดับปฏิบัติการ
• ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนข้อหลักๆ ที่บริษัทค้นพบ และแนวทางในการ
รับมือ
• วิธีให้ผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม และกระบวนการ
ปรึกษาหารือ
• วิธีสื่อสารเรื่องนี้ต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ และสังคมในวงกว้าง
นอกจากนี้ นโยบายอาจอ้างอิงชุดหลักการสากลหรือแนวร่วมสากล ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการ
ยอมรับในระดับสากล และบริษัทพร้อมที่จะปฏิบัติตาม การอ้างอิง “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ” หรือ UNGP ในนโยบายถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
สำาหรับบริษัททั่วไปในประเทศไทยที่มีห่วงโซ่อุปทาน และมีสถานประกอบการอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ความเสี่ยงด้าน
สิทธิมนุษยชนประการสำาคัญๆ มักเป็นเรื่องต่อไปนี้
• สิทธิมนุษยชนของแรงงาน รวมถึงสิทธิในการรวมกลุ่มและจัดตั้งสหภาพ
การขจัดแรงงานบังคับทุกรูปแบบ รวมถึงในห่วงโซ่อุปทาน
• การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงานและสมาชิกในชุมชนท้องถิ่น
• สิทธิที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของชุมชนท้องถิ่น (รวมถึงสิทธิในสุขภาพ
การศึกษา ความเป็นอยู่ที่ดี การใช้ที่ดิน และการเข้าถึงอาหารและน้ำา)
2 พัฒนานโยบาย
บริษัทควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทตั้งอยู่บนข้อมูลที่รอบด้าน
และครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้อาจเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือถ้าหากบริษัทมีเวลาจำากัด ก็ควรอ้างอิงงานวิจัยหรือเอกสารที่น่าเชื่อถือ
29